กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะอินทรีย์ในเทศบาลตำบลหารเทา
รหัสโครงการ 65-L3339-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะขับเคลื่อนภาคีเครื่อข่าย สสส.ตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 92,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยทัต สามารถ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลหารเทา ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากพะยูน มีขนาดพื้นที่ 51.52 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 3,516 ครัวเรือน มีประชากรรวม 10,012 คน แยกเป็นชาย จำนวน 4,935 คน หญิง 5,077 คน มีโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียน วัด จำนวน 5 วัด มัสยิด จำนวน 1 มัสยิด ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง ธนาคาร จำนวน 1 แห่ง สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง โบราณสถาน จำนวน 1แห่ง รพ.สต. จำนวน 2 แห่ง สถานีรถไฟ จำนวน 1 แห่ง หนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 6 สาย
สถานการณ์ปัญกาขยะของพื้นที่ตำบลหารเทา เทศบาลตำบลหารเทาได้จัดเก็บขยะอาทิตย์ละ 1 ครั้ง/หมู่บ้าน ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 1.84 ตัน/วัน 55.30 ตัน/เดือน และ663.60 ตัน/ปี โดยรถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยแบบเปิดข้างเทท้ายขนาดความจุ 12 ลบ.ม. จำนวน 1 คัน สถานที่กำจัดโดยใช้บริการเอกชนภายนอกตำบลหารเทา ไม่มีถังขยะบริการโดยจะเก็บขยะหลังครัวเรือนคัดแยกแล้ว เหลือขยะที่ต้องกำจัดโดยการอำนวยความสะดวกจากเทศบาลตำบลหารเทา พนักงานเก็บ จำนวน 2 คน พนักงานขับรถ จำนวน 1 คน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ทิ้งขยะ รวมค่าใช้จ่าย 1,112,880 บาทต่อปี ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือนทุกครัวเรือน แต่ยังขาดการนำขยะหลังการคัดแยกไปใช้ประโยชน์ทำให้เกิดปัญหาขยะสดมีปริมาณมากขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งขยะสะสมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นบ่อเกิดของโรคไข้เลือดออกทำให้เกอดปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านเศรษฐกิจครัวเรือน
ในส่วนขแงผลกระทบต่อสังคมมีเรื่องร้องเรียนการนำขยะจากภายนอกพื้นที่มาทิ้งที่บริเวณไหล่ทางในบางพื้นที่เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออื่น จากปัญหาข้างต้นจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกลิ่นขยะในพื้นที่รอยต่อ อีกทั้งในพื้นที่ชุมชนมีตลาดนัด จำนวน 1 แห่งจำหน่ายสินค้า จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาขยะเนื่องจากแม่ค้ายังขาดความรู้เรื่องการคัดแยกและการจัดการขยะที่ถูกวิธี และลูกค้า คน ในชุมชนยังไม่ตระหนักในการใช้ถุงผ้าหรืออุปกรณ์ทดแทนถุงพลาสติกอย่างยั่งยืน
ในพื้นที่ตำบลหารเทามีแหล่งสาธารณประโยชน์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น แหล่งน้ำ ถนน ลำคลอง ที่ขาดการดูแลรักษาความสะอาดอย่างต่อเนื่องจึงก่อให้เกิดปัญหาขยะตามธรรมชาติ เช่น ผักตบชวาในแหล่งน้ำ วัชพืชน้ำ ป่าหญ้าไหล่ทาง ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้เทศบาลตำบลหารเทาได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ปริมาณขยะลดลงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับชุมชน และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะและส่งต่อให้การเรียนรู้สู่เยาวชนรุ่นหลัง ผลักดันให้เกิดภาคีเครือข่ายการจัดการขยะในกลุ่มเยาวชนอย่างยั่งยืน มีการผลักดันเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถานศึกษาในพื้นที่ จากการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ที่ขัยบคลื่อนให้ประเด็นสุขภาวะในระดับจังหวัดตามกรอบเป้าหมายระยะยาว Phatthalung Green City ได้รับการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมสามารถบรรลุเป้าหมายการลดขยะในระดับภาพรวมของจังหวัดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

1.มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน
2.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน
3.มีแผนการดำเนินงาน
4.มีการประชุมทุก 2 เดือน
5.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรเรียนรู้ในสถานศึกษา

1.กลุ่มเป้าหมายจัดการขยะอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธีและยั่งยืน อย่างน้อย 90%
2.มีการบันทึกการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม (ครัวเรือนเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในสมุด สมุดพกปกเขียว โดยมีคณะทำงานเป็นผู้ตรวจสอบ)

0.00
3 3.เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ

1.มีการติดตามการจัดการขยะในกลุ่มเป้าหมายทุก 3 เดือน เพื่อส่งมอบคนดีมีรางวัลสู่สังคม
2.มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 110 แห่ง
3.หนองน้ำปลอดภัย
4.ถนนปลอดขยะ 1 สาย

0.00
4 4.เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง

1.ปริมาณขยะที่เทศบาลตำบลหารเทาจัดเก็บลดลงร้อยละ 30
2.มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 92,800.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน 0 8,240.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 2.การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 6 ครั้ง 0 6,200.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3.เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 0 8,500.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 4.พัฒนาศักยภาพบูรณาการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 0 19,050.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 5.ให้ความรู้การจัดการขยะให้กับกลุ่มเป้าหมาย 0 31,925.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 6.รักษ์หารเทา 0 18,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 7.การติดตามประเมินผลเชิงรุก 0 885.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2565 00:00 น.