กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการให้ความรู้มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง

1.นายอนุรักษ์ ผิวผ่อง

พื้นที่ตำบลบางแม่นาง 12 หมู่บ้าน ( 1, 2, 3, 5, 6, 12, 13, 14, 15, 16, 17 และ 18 ) ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บางแม่นาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสามในหญิงไทย ซึ่งประเทศไทยมีโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับชาติโดยวิธี Pap smear ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศในปี 2553 – 2557 ถึงแม้การตรวจโดยใช้วิธี Pap smear จะเป็นวิธีการตรวจที่มาตรฐาน แต่พบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ ประสิทธิภาพของวิธีการตรวจที่ยังมีจำกัดและการเก็บตัวอย่างเซลล์และการจัดเตรียมสไลด์เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ หากในสถานพยาบาลที่มีการเข้าออกหรือเปลี่ยนตำแหน่งความรับผิดชอบจะทำให้มีปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี HPV DNA Test ซึ่งให้ผลความไวและความถูกต้องที่ดีกว่าการตรวจ Pap smearโดยในปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีHPV DNA Test ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจด้านชีวโมเลกุล เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธ์ที่ก่อมะเร็งบริเวณปากมดลูกและผนังช่องคลอด โดยมีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองที่ดีกว่า จึงเป็นการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหญิงไทยช่วงอายุ 30 – 59 ปี
และหญิงไทยช่วงอายุ 15 – 29 ปี กรณีที่มีความเสี่ยงสูง ควรรับบริการตรวจคัดกรอง 1 ครั้ง ทุก ๆ 5 ปี
และในส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่จากข้อมูลสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลังรายเขตสุขภาพ ระหว่างปี 2552 – 2561 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย โดยในปี 2552 อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเพศชาย อยู่ที่ 3.6 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 เช่นเดียวกับเพศหญิง ในปี 2552 อยู่ที่ 2.8 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 6.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 ที่น่าสนใจคือคนในเขตเมืองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตกทม.ที่มีจำนวนมากที่สุด 15.1 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าในรอบ 10 ปี ตามด้วยภาคกลาง 10.2 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า โดยจากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยมีแนวโน้มการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้น
ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพและทั่วถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่างแม่นาง จึงจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางแม่นาง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ อสม./แกนนำ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
2. เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ ๓๐-60 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. เพื่อส่งต่อผู้ผู้ที่มีความผิดปกติไปตรวจยืนยันและรับการวินิจฉัยจากแพทย์ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและ มะเร็งลำไส้ใหญ่
4. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการมะเร็งปากมดลูกมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระดับชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  2. สำรวจ ทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี
  3. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมอสม./แกนนำสตรี ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ จำนวน 60 คน เพื่อไปถ่ายทอดกลุ่มเป้าหมายในชุมขน -  ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ -  การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ -  แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง -  ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยตนเอง
  2. อสม./แกนนำ ดำเนินการในชุมชน ให้ความรู้ ตระหนัก เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
  3. ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลบางใหญ่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางแม่นาง

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม./แกนนำ มีความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตน ร้อยละ 100
2. ร้อยละ 50 ของสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม
3. ร้อยละ ๑๐ ของสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งคัดกรองปากมดลูก
4. ร้อยละ ๑๐ ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่
5. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชน ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการรักษาส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด


>