กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2457-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 21,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 21,500.00
รวมงบประมาณ 21,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสามในหญิงไทย ซึ่งประเทศไทยมีโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับชาติโดยวิธี Pap smear ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศในปี 2553 – 2557 ถึงแม้การตรวจโดยใช้วิธี Pap smear จะเป็นวิธีการตรวจที่มาตรฐาน แต่พบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ ประสิทธิภาพของวิธีการตรวจที่ยังมีจำกัดและการเก็บตัวอย่างเซลล์และการจัดเตรียมสไลด์เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ หากในสถานพยาบาลที่มีการเข้าออกหรือเปลี่ยนตำแหน่งความรับผิดชอบจะทำให้มีปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี HPV DNA Test ซึ่งให้ผลความไวและความถูกต้องที่ดีกว่าการตรวจ Pap smearโดยในปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีHPV DNA Test ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจด้านชีวโมเลกุล เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธ์ที่ก่อมะเร็งบริเวณปากมดลูกและผนังช่องคลอด โดยมีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองที่ดีกว่า จึงเป็นการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหญิงไทยช่วงอายุ 30 – 59 ปี และหญิงไทยช่วงอายุ 15 – 29 ปี กรณีที่มีความเสี่ยงสูง ควรรับบริการตรวจคัดกรอง 1 ครั้ง ทุก ๆ 5 ปี และในส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่จากข้อมูลสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลังรายเขตสุขภาพ ระหว่างปี 2552 – 2561 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย โดยในปี 2552 อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเพศชาย อยู่ที่ 3.6 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 เช่นเดียวกับเพศหญิง ในปี 2552 อยู่ที่ 2.8 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 6.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 ที่น่าสนใจคือคนในเขตเมืองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตกทม.ที่มีจำนวนมากที่สุด 15.1 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าในรอบ 10 ปี ตามด้วยภาคกลาง 10.2 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า โดยจากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยมีแนวโน้มการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพและทั่วถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่างแม่นาง จึงจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางแม่นาง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม./แกนนำ มีความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตน ร้อยละ 100
    1. ร้อยละ 50 ของสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม
    2. ร้อยละ ๑๐ ของสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งคัดกรองปากมดลูก
    3. ร้อยละ ๑๐ ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่
    4. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชน ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการรักษาส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2565 11:33 น.