2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไวรัสตับอักเสบบี และ ซี เป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ อันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พบผู้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี ในระดับที่สูงและมีแนวโน้มพบผู้เสียชีวิตจากตับแข็งและมะเร็งตับเพิ่มขึ้น คาดประมาณผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเรื้อรัง ประมาณ 2.2 – 3 ล้านคน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีเรื้อรัง ประมาณ 3 – 8 แสนคน โดยพบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี ชนิดเรื้อรังกระจายตัวแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค พบมากในประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป การเร่งรัดจัดการแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังอย่างบูรณาการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการกำจัด โรคไวรัสตับอักเสบให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2573 จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนางานให้เข้มแข็งและเป็นระบบ และต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน การดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ด้วยการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี รวมถึงให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หากตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในพื้นที่สามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้ง่าย สะดวก และได้รับการส่งต่อเข้าสู่กระบวนการทางสาธารณสุขให้ได้รับการรักษาต่อไป อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและยั่งยืน
จากการสำรวจประชากรกลุ่มเสี่ยงพบว่า ประชากรที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะและรีไซเคิลขยะ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพและโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจากการถูกของมีคมทิ่มตำ ดังนั้นในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพของกลุ่มอาชีพนี้ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบกับทางกรมควบคุมโรค กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี แบบเร็ว (Repid test) งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพประชากรที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะและรีไซเคิลขยะภายในเขตเทศบาลเมืองคลองแห จึงได้จัดทำโครงการชาวคลองแหร่วมใจ ไวรัสตับอักเสบบี- ซี หมดไปจากคลองแห ขึ้น เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ และส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา ให้ได้รับการรักษา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2022
กำหนดเสร็จ 31/08/2022
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห โรงพยาบาลหาดใหญ่เพื่อขอสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองด้วยชุดการตรวจแบบเร็ว (Rapid test)
3.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทราบและเข้าร่วมโครงการ
4.จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี วิธีการค้นหา/คัดกรอง และการส่งต่อ เพื่อเข้าระบบการรักษา
5. ตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยง โดยการใช้แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี หากมีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ส่งตรวจด้วยชุดตรวจแบบเร็ว (Rapid test) หากผลเลือดเป็นบวก (Positive) ให้คำแนะนำแนวทางการรักษา และส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
6. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
7.รายงานผลการดำเนินงาน
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องไวรัสตับอักเสบบี และซี
2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี และได้รับความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตัวเอง
3.ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม