กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขใจ ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

10.00

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรังอันส่งผลให้เกิดการถดถอยของร่างกาย ปัญหาด้านสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง ภาวะซึมเศร้าหลังจากวัยเกษียณ และการขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในสังคม เป็นต้น ปัจจุบันผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อบต.นาประดู่ มีจำนวนทั้งสิ้น 781 คน และมีแนวโน้มอายุยืนยาวและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี กลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆสูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม เป็นต้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่ควรได้รับการดูแลทั้งสุขภาพกาย และจิตเป็นพิเศษให้ทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพทั้งสุขภาพกายและจิต และลดผลกระทบต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในชุมชน
ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อบต.นาประดู่ จึงขอจัดโครงการผู้สูงอายุสุขใจ ใส่ใจสุขาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม และการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน เพิ่มขึ้น

10.00 80.00
2 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

ร้อยละผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูร่างกายของตนเองมากขึ้น

20.00 80.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละผู้สูงอายุที่เข้าร่วมมีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ

20.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

งบประมาณ

1.  ค่าอาหารว่าง จำนวน 15 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 375 บาท (เงินสามร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อวางแผนดำเนินการต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุจำนวน 30 คน เข้าร่วมอบรม ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ทุกวันอังคาร เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป 16 ครั้ง โดยจัดทำหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย
1. การดูแลตนเองและปฐมพยาบาลเบื้องต้น (2 ครั้ง)

  1. การป้องกันภาวะหกล้ม

  2. การดูแลในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และโภชนาการในผู้สูงอายุ

  3. การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (2 ครั้ง)

  4. การส่งเสริมสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ

  5. กิจกรรมที่ช่วยเรื่องความจำและป้องกันภาวะอัลไซเมอร์

  6. การรักษาสุขภาพ โดยแพทย์แผนไทย (2 ครั้ง)

  7. กิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

  8. ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

  9. โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

  10. ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง

  11. การยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดอาการปวด (2 ครั้ง)

งบประมาณ

  1. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 16 ครั้ง เป็นเงิน 28,800 บาท

  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 25 บาท จำนวน 16 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท

  3. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 × 3 เมตร เป็นเงิน 600 บาท

  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการฝึกอบรม เป็นเงิน 15,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 56400 บาท (เงินห้าหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,775.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพิ่มการเข้าร่วมกลุ่มหรือชมรมของผู้สูงอายุ และการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูร่างกาย สามารถดูแลตนเองมากขึ้น

3. ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและเกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สูงอายุในพื้นที่


>