กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม.รณรงค์คัดกรองหาสารเคมีในเกษตรกร หมู่ที่ 7 เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ม.7 ต.มะกอกเหนือ

1.นางบุญเรือน เกลี้ยงหวาน 0980362309
2.นางเยาวเรศ พูลปาน
3.นางเสาวรัตน์ ปล่องลม
4.นางบุญน้อม เนียมทอง
5.นางจำนงค์ ฉันทกุล

หมู่ที่ 7 เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

39.19

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในกลุ่มเกษตรกรเป็นจำนวนมากและแพร่หลาย บางครั้งพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือจะไปทำลาย อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้ สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้ง
ประชากรในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ใน การเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำนา สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังไม่ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรว่าอยู่ในระดับใด ประกอบกับเกษตรกรในพื้นที่ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี และขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำโครงการ อสม.รณรงค์ลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีที่อาจตกค้างในผักชนิดต่างๆ มีผลทำให้เกิดมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของผู้บริโภค และจะได้มีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ประโยชน์และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

1.เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ประโยชน์และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

39.19 28.50
2 2.เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด โดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.

2.เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด ร้อยละ 80

15.50 12.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเกษตรกร 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าอนามัย,อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ม.7 จำนวน 6 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าอนามัย,อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ม.7 จำนวน 6 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการและชี้แจงโครงการแก่คณะทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 27 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รอบรู้สารเคมีในเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
รอบรู้สารเคมีในเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการใช้สารเคมี การลดการใช้สารเคมี โทษของสารเคมี การปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น
1. ค่าวิทยากรให้ความรู้ 4 ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 55 คนๆละ 25 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 1375 บาท
3.ค่าเอกสารความรู้-ความเข้าใจ การใช้สารเคมีก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 100 ชุด เป็นเงิน 100 บาท 4.ไวนิลโครงการ ขนาด 1.2*3 ม. ตารางเมตรละ 180 บาท เป็นเงิน 648 บาท ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2565 ถึง 4 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีความรู้เรื่องสารเคมีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4523.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่1

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชุดตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท (ชุดตรวจเคมี 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน) -ตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ครั้งที่ 1

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 11 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ครั้งที่ 2

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 สิงหาคม 2565 ถึง 11 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด และจะรู้ผลการตรวจในวันนั้น เกษตรกรที่มีผลสารพิษตกค้างในเลือดสูงกว่าปกติ จะได้รับการรักษาโดยได้รางจืดไปรับประทานเป็นเวลา 5 วัน และจะนัดติดตามผลสารพิษตกค้าง โดยนัดเจาะเลือดอีก 1 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เมล็ดพันธ์พืช-เมล็ดคะน้า 30 กระป๋อง เมล็ดกวางตุ้ง 30 กระป๋อง เมล็ดผักกาดขาว 30 กระป๋อง ราคากระป๋องละ 35 บาท เป็นเงิน 3150 บาท 2.ถุงปลูกผัก ขนาด 8*15 นิ้ว (32ใบ/1 กิโลกรัม) จำนวน 6 แพ็คๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 3.ดินปลูกผัก จำนวน 120 ถุง ราคาถุงละ 20 บาท เป็นเงิน 2400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 5 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้บริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานสรุปโครงการและถอดบทเรียนการทำงาน - ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม ค่าวัสดุอุปกรณเป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 7 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,773.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
2.เกษตรกรทราบอันตรายของสารเคมี ลดพฤติกรรมการใช้สารเคมีลง
3.เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง


>