กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปี ไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปี ไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขใช้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ ด้วยวัคซีนโดยบรรจุไว้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นโรคที่ค่อยๆ หายไปจากประเทศไทยเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนนั้น ขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (Vaccinecoverage) สูงและประสิทธิผลของวัคซีน (Vaccine effectiveness) ดี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดดใต้ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนเริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น เป็นเพราะองค์ประกอบสำคัญทั้ง 2 ประการนี้ยังไม่สมบูรณ์และจากผลการปฏิบัติงานสร้างเสิรมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประกอบกับผู้ปกครองขาดความรู้ทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและในปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขอย่างเร่งด่วนหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมายิ่งขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ ตำบลกาหลง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0-5ปี จึงจัดทำโครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปี ไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

เด็กในตำบลกาหลงได้รับการฉีดวัคซีนครบทุกราย

0.00 1.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5ปี ในพื้นที่ของตำบลกาหลงได้รับวัคซีนครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

สุขภาพเด็ก0-5 ปี มีการดูแลที่ดี

0.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องวัคซีน อาการข้างเคียงและการดูแลหลังได้รับวัคซีน

ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลเด็กหลังฉีดวัคซีน

10.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 53
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรุชุมเจ้าหน้าที่ ตัวแทนชุมชนและ อสม.เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานวัคซีนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ปรุชุมเจ้าหน้าที่ ตัวแทนชุมชนและ อสม.เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานวัคซีนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อาหารว่าง จำนวน 50 คน 25 บาท 2 มื้อ  เป็นเงิน  2,500 บาท - อาหารกลางวัน จำนวน 50 คน 60 บาท 1 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวีคซีน

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวีคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 53คน 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,150 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 53 คน 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,580 บาท -ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน  170 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 25 บาท 250 คน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความจำเป็นในการรับวัคซีนของบุตร และอาการข้างเคียงของวัคซีนหลังได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น


>