กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ(ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านคลองนุ้ย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านคลองนุ้ย

1.นางสายจิตร อินทมา
2.นายประเสริฐ ดำหนู
3.นายสุรินทร์ ปานป้อง
4.นายหร่อเขวน ขุนทิพย์บุญยัง
5.นางสุกัญญา ภัยเนียม

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านคลองนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้งที่มีความรุนแรงกับผู้ป่วยนั้น มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้เจ็บป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทันที ทำให้บางครั้งผลของการตรวจรักษาผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลาทำให้เกิดการสูญเสียแก่ผู้ป่วยถึงเสียชีวิตหรือทุพลภาพ หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่ความรู้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งบางครั้งการกระทำเหล่านี้ส่งผลในด้านลบแก่ผู้ป่วยมากกว่า อาจถึงขั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บบริเวณคอ หากมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่การเข้าเฝือกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอาจจะทำให้หมอนรองกระดูกเกิดความเสียหาย ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การไม่มีสัญญาณชีพ (การหยุดหายใจ การหยุดเต้นของชีพจร ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง) หมายถึง การเสียชีวิตของบุคคลนั้น ในด้านการแพทย์หากยังไม่เกิน ๒0 นาที ถือว่าสมองยังไม่ถูกทำลาย หากสามารถทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ โดยการกระตุ้นให้หัวในทำงาน การผายปอด ซึ่งหากผู้ให้การช่วยเหลือมีความรู้ ก็จะถือว่ายังพอมีโอกาสในการช่วยเหลือ โดยวิธีการดังกล่าวนั้นเรียกรวมกันว่า การช่วยฟื้นคืนชีพ จากเหตุผลขั้นต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าการปฐมพยาบาลผู้ป่วยก่อนพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนั้นสามารถลด ความเจ็บปวด ความรุนแรงที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ กลับกันหากผู้ให้การปฐมพยาบาลไม่มีความรู้ การให้การปฐมพยาบาลอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับผู้ป่วยได้ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเพื่อลดความเจ็บปวดและความรุนแรงของโรคแหลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบัน การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้งที่มีความรุนแรงกับผู้ป่วยนั้น มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้เจ็บป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทันที ทำให้บางครั้งผลของการตรวจรักษาผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลาทำให้เกิดการสูญเสียแก่ผู้ป่วยถึงเสียชีวิตหรือทุพลภาพ หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่ความรู้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งบางครั้งการกระทำเหล่านี้ส่งผลในด้านลบแก่ผู้ป่วยมากกว่า อาจถึงขั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บบริเวณคอ หากมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่การเข้าเฝือกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอาจจะทำให้หมอนรองกระดูกเกิดความเสียหาย ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การไม่มีสัญญาณชีพ (การหยุดหายใจ การหยุดเต้นของชีพจร ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง) หมายถึง การเสียชีวิตของบุคคลนั้น ในด้านการแพทย์หากยังไม่เกิน ๒0 นาที ถือว่าสมองยังไม่ถูกทำลาย หากสามารถทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ โดยการกระตุ้นให้หัวในทำงาน การผายปอด ซึ่งหากผู้ให้การช่วยเหลือมีความรู้ ก็จะถือว่ายังพอมีโอกาสในการช่วยเหลือ โดยวิธีการดังกล่าวนั้นเรียกรวมกันว่า การช่วยฟื้นคืนชีพ จากเหตุผลขั้นต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าการปฐมพยาบาลผู้ป่วยก่อนพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนั้นสามารถลด ความเจ็บปวด ความรุนแรงที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ กลับกันหากผู้ให้การปฐมพยาบาลไม่มีความรู้ การให้การปฐมพยาบาลอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับผู้ป่วยได้ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเพื่อลดความเจ็บปวดและความรุนแรงของโรคแก่ผู้ป่วย และลดการเจ็บป่วยรุนแรงที่เกิดจากการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมถึงสามารถช่วยเหลือผู้ไร้สัญญาณชีพด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีต่างๆได้
ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ จึงได้จัดโครงการการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ในการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ แก่แกนนำครอบครัว เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้เมื่อประสพกับเหตุการณ์จริง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้อยละ 100 แก่แกนนำครอบครัว บ้านหัวช้าง มีประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติทักษะการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ถูกได้ถูกต้อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น แก่ อสม./แกนนำครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น แก่ อสม./แกนนำครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อๆละ 6๐ บาท จำนวน 120 คน เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าอาหารว่าง ๒ มื้อ ๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน 120 คน เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๔ ช.ม. เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท - เอกสารการอบรม จำนวน 120 เล่มๆละ 4๐ บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และมีทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องตัน เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล
2.สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน


>