กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงวัย กินดี ออกกำลังกายดี ชีวีมีสุข ที่บ้านโหล๊ะจันกระ ม.6

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.6 โหล๊ะจันกระ

1. น.ส. ณาตยาณีช่วยราชการ
2. น.ส. ศิริธรจันทร์หอม
3. นาง วรรณามากมา
4. นาง นิตยาสีใหม่
5. นาง วิภารัตน์นุ่นเกตุ

สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.6 โหล๊ะจันกระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศและสังคมโลกและประเทศไทยกำลังเข้าช่วงของการมีประชากรที่เป็นกลุ่มคนสูงอายุมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังตระหนักถึงปัญหาของการเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งประเทศไทยเองก็เริ่มเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อย่าง
รวดเร็ว จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งที่กำลังเผชิญกับปัญหาของสังคมของผู้สูงอายุ ปัจจุบันประชากรโดยรวมของจังหวัดพัทลุงอยู่ที่๕๕๙,๐๐๐ ล้านคน และมีจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุอยู่ในจำนวนที่ ๑๖๓,๕๐๐ คนโดยประมาณ คิดเป็น
๑ ใน ๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งประชากรเหล่านี้มีแหล่งที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ กระจายไปทั่วจังหวัดภายใต้การได้รับ
และคนในครอบครัวซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุบางกลุ่มก็มีรายได้ดูแลตัวเองได้ บางกลุ่มก็มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพอที่ดูแลตัวเองได้แต่ภาพรวมของกลุ่มผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดของประชากรต้องเผชิญกับปัญหาโรคเรื้อรัง ( NcDs ) ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่เหมาะสมกับช่วงวัย การที่กลุ่มผู้สูงอายุไม่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการขยับร่างกาย ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาต่อสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
บ้านโหล๊ะจันกระ ม.6 มีกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน ๑00 คน แยกเป็นชาย ๖๐ คน แยกเป็นหญิง ๔o คน ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มีสุขภาพ คือ
๑. เป็นโรคความดัน ๖0 คนโดยประมาณ
๒. เป็นโรคเบาหวาน ๗๐ คนโดยประมาณ
๓. เป็นโรคไขมันในเส้นเลือด ๓๐ คนโดยประมาณ
ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๕0 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน
จาการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคมาจากการกินอาหารในแต่ละวันของกลุ่มผู้สูงอายุและขาดการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุ แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมคือ การที่ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุได้รับความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องทั้งเรื่องการกินอาหารและการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นและต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

มีผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีการทำกิจกรรมออกกำลังกาย กำลังอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับช่วงวัย

2.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีการร่วมออกกำลังกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อสัปดาห์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้กับผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับการกินและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้กับผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับการกินและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชม.ๆละ600บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน40คนๆละ 1 มื้อๆละ 60บาท รวมเป็นเงิน2,400บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน40คนๆละ2มื้อๆละ 25บาท รวมเป็นเงิน2,000บาท -ค่าเช่าเครื่องเสียง 1,000 บาท - ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 2. ส่งเสริมการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
2. ส่งเสริมการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรนำออกกำลังกาย 3 คน วันละ 1 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 5 วัน รวมเป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 3. คณะทำงานเยี่ยมเยือนกลุ่มเป้าหมายติดตามประเมินผล พร้อมประชุมสรุปผลแต่ละครั้งจำนวน 2 ครั้ง ต่อ 1 เดือน(ลงเยี่ยม 3 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
3. คณะทำงานเยี่ยมเยือนกลุ่มเป้าหมายติดตามประเมินผล พร้อมประชุมสรุปผลแต่ละครั้งจำนวน 2 ครั้ง ต่อ 1 เดือน(ลงเยี่ยม 3 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10คนๆละ 6มื้อๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 คนๆละ 6มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,500บาท
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ อื่นๆ (ดังรายละเอียดแนบ) เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล 4๐ คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องทั้งเรื่องการกินและการออกกำลังกาย
๒.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแลปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง
๓.กลุ่มผู้สูงอายุอย่างน้อย ๒๐ คน มีการทำกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสมกับช่วงวัย


>