กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผู้สูงวัย กินดี ออกกำลังกายดี ชีวีมีสุข ที่บ้านโหล๊ะจันกระ ม.6
รหัสโครงการ 2565-L3328-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.6 โหล๊ะจันกระ
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิริธร จันทร์หอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศและสังคมโลกและประเทศไทยกำลังเข้าช่วงของการมีประชากรที่เป็นกลุ่มคนสูงอายุมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังตระหนักถึงปัญหาของการเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งประเทศไทยเองก็เริ่มเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อย่าง รวดเร็ว จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งที่กำลังเผชิญกับปัญหาของสังคมของผู้สูงอายุ ปัจจุบันประชากรโดยรวมของจังหวัดพัทลุงอยู่ที่๕๕๙,๐๐๐ ล้านคน และมีจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุอยู่ในจำนวนที่ ๑๖๓,๕๐๐ คนโดยประมาณ คิดเป็น ๑ ใน ๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งประชากรเหล่านี้มีแหล่งที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ กระจายไปทั่วจังหวัดภายใต้การได้รับ และคนในครอบครัวซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุบางกลุ่มก็มีรายได้ดูแลตัวเองได้ บางกลุ่มก็มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพอที่ดูแลตัวเองได้แต่ภาพรวมของกลุ่มผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดของประชากรต้องเผชิญกับปัญหาโรคเรื้อรัง ( NcDs ) ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่เหมาะสมกับช่วงวัย การที่กลุ่มผู้สูงอายุไม่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการขยับร่างกาย ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาต่อสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง บ้านโหล๊ะจันกระ ม.6 มีกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน ๑00 คน แยกเป็นชาย ๖๐ คน แยกเป็นหญิง ๔o คน ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มีสุขภาพ คือ ๑. เป็นโรคความดัน ๖0 คนโดยประมาณ ๒. เป็นโรคเบาหวาน ๗๐ คนโดยประมาณ ๓. เป็นโรคไขมันในเส้นเลือด ๓๐ คนโดยประมาณ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๕0 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน จาการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคมาจากการกินอาหารในแต่ละวันของกลุ่มผู้สูงอายุและขาดการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุ แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมคือ การที่ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุได้รับความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องทั้งเรื่องการกินอาหารและการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นและต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

มีผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีการทำกิจกรรมออกกำลังกาย กำลังอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับช่วงวัย

2.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีการร่วมออกกำลังกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อสัปดาห์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. อบรมให้ความรู้กับผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับการกินและการออกกำลังกายที่เหมาะสม 0 8,400.00 -
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 2. ส่งเสริมการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล 0 4,500.00 -
10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3. คณะทำงานเยี่ยมเยือนกลุ่มเป้าหมายติดตามประเมินผล พร้อมประชุมสรุปผลแต่ละครั้งจำนวน 2 ครั้ง ต่อ 1 เดือน(ลงเยี่ยม 3 เดือน) 0 7,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล 4๐ คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องทั้งเรื่องการกินและการออกกำลังกาย ๒.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแลปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง ๓.กลุ่มผู้สูงอายุอย่างน้อย ๒๐ คน มีการทำกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสมกับช่วงวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 14:52 น.