กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “น้ำผุดรุ่นใหม่ ร่วมใจลดน้ำตาล”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด

รพ.สต.น้ำผุด

ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและพบว่าผู้สูงอายุเหล่านั้นมักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย ซึ่งโรคประจำตัวที่พบได้บ่อย คือ โรคเบาหวาน ดังจากข้อมูลสถิติสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563ได้ทำการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,767,265 คน คิดเป็นร้อยละ 45.09 โรคเบาหวาน จำนวน 1,688,246 คน คิดเป็นร้อยละ 20.21 โดยในส่วนของจังหวัดตรัง พบว่าสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกในจังหวัดตรัง พ.ศ.2563 จากประชากรที่ป่วยจำนวน 288,125 คน4 อันดับแรก ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเนื้อเยื่อผิดปกติ โรคของหลัง และโรคเบาหวานตามลำดับ โดยโรคเบาหวานพบจำนวน 32,025 คน จึงเห็นได้ว่าโรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้ว ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ ผู้จัดทำจึงได้จัดโครงการนี้ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพให้คนในชุมชนที่เป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ให้สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง โดยจากข้อมูลทางสถิติสาธารณสุข ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 พบว่าจากประชากรตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ทั้งหมด 3,838 คนมีโรคที่พบในผู้สูงอายุมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2198 คน รองลงมาคือโรคเบาหวาน จำนวน 665 คน และพบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีของตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2559, 2560, 2561, 2562 และ 2563 มีแนวโน้มลดลง คือ 18.89, 21.03, 21.67, 29.68 และ 29.1 ตามลำดับ ผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นในตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง เพื่อจัดโปรแกรมสุขภาพให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ โดยเริ่มจากการพูดคุยหาสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลสะสมสูง จากนั้นจึงร่วมกันหาวิธีปรับพฤติกรรมตามวิถีชีวิตของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อการให้ความรู้ และติดตามการปรับพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อการให้ความรู้ และติดตามการปรับพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อการให้ความรู้ และติดตามการปรับพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วย ค่าสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 100 เล่มๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอุปกรณ์ตรวจเท้า monofilament
จำนวน5 อัน อันละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 1.2 กิจกรรมตรวจเท้า ด้วยอุปกรณ์ monofilament -ค่าสมุดบันทึกการออกกำลังกาย 100 เล่มๆละ 36บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าเกียรติบัตร จำนวน 100 ฉบับๆละ15 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาได้ถูกต้อง ทำให้สามารถลดน้ำตาลสะสมได้ตามเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อ / 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ / 100 คนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมจำนวน 200 ชุด ชุดละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าแผ่นพับให้ความรู้(พริ้นสี2หน้า) 100 แผ่น ๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าไวนิลโครงการขนาด1.2*2.4 เมตร  เป็นเงิน 374 บาท
-ปากกาจำนวน 100 ด้ามๆละ 6 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การดูแลสุขภาพตนเอง และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13874.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,974.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับตัวโรค ทั้งสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งการรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาที่ถูกวิธี และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าเกณฑ์
2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตนเองให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนกับคนในครอบครัวและชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดียิ่งขึ้น


>