กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจผู้สูงอายุด้วยการดูแลที่ถูกวิธี ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

รพ.สต.กาลูปัง

รพ.สต.กาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสถานการณ์ประชากรที่กำลังได้รับความสนใจในสังคมโลกปัจจุบัน คือ โครงสร้างของประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) จากข้อมูลประชากรโลกได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมาประชาการผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากอัตราการตายและอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง (United Nation 2006) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2552) ได้เสนอความคิดว่าจากที่สำนักงาน สถิติแห่งชาติได้รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ประชากรโลกและประชากรไทย พบว่า จำนวนประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ. 2550 มีประชากรทั่วโลก 6,605 ล้านคน แต่ในปี พ.ศ. 2580 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,725.7 ล้านคน ทวีปเอเชียจะมีประชากรมากที่สุดโดยประเทศจีนและอินเดียจะมีประชากรมากเป็นอับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 14.7 (9.5 ล้านคน) และคาดว่าในปี พ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกินร้อยละ 20 (14.4) นั่นหมายถึง ประเทศไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมสภาพ โดยพบว่าโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียสุขภาวะ 5 อันดับแรกในผู้สูงอายุชาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และโรคมะเร็งตับ สำหรับผู้สูงอายุหญิง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อม และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุดูแลตนเองไม่ได้เลย 63,000 คนหรือร้อยละ 0.9 โดยพิจารณาจากความสามารถในการดูแลตนเองทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุมีภาวะที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2557: 1)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลาซึ่งเป็นหน่วยงานบริการสุขภาพปฐมภูมิมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 4 มีประชากรทั้งหมด 3,172 คน (ฐานข้อมูลประชากรกลางปี มิถุนายน 2562) มีผู้สูงอายุ จำนวน 347 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.93 และจากรายงานข้อมูลแสดงภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ปี 2562 ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน พบว่ามีผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 341 คน คิดเป็นร้อยละ 98.27 ผู้สูงอายุติดบ้าน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.15 และผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.28(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา, 2562) วัยผู้สูงอายุมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างกาย โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพและการเจ็บป่วย จากสภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ และสุขภาพช่องปาก
ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และที่สำคัญ คือการมุ่งลดความเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาวโดยไม่ถูกทอดทิ้งมีภาคีเครือข่ายดูแลตลอดเวลา จึงทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 2. ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activitives of Daily Living :ADL) 3. เพื่อแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุโดยการเยี่ยมบ้านตามแผน 4. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการรักษา และส่งต่อ

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ดำเนินการคัดกรองสุขภาพสุขภาพเบื้องต้นและสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมิน Mini Cog / 2Q
    1. จัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุระดับตำบลมีการดำเนินการดูแลสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ
    2. มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. จิตอาสาดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ให้มีความรู้เพียงพอต่อผู้สูงอายุและครอบครัวอบรมเชิงปฏิบัติการ 4.ให้ความรู้กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ในการดูแลสุขภาพตนเองให้เป็นผู้สูงอายุที่พึงประสงค์
    3. กิจกรรมติดตามการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยทีมสุขภาพและเครือข่ายมีการประเมินปัญหาของผู้สูงอายุให้ความรู้เฉพาะด้านในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยที่บ้านแก่ญาติ ผู้ดูแล มีระบบส่งต่อและติดตาม 6.ร่วมจัดกิจกรรมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกาลูปัง ในวันผู้สูงอายุประจำปี งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ............ตำบลกาลูปัง.................................
      จำนวน .....10,000.......... บาท (....หนึ่งหมื่นบาทถ้วน.............) รายละเอียด  ดังนี้ 1  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ2 มื้อ25 บาท        เป็นเงิน  ....3,500.............  บาท 2  ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70คนๆ ละ 1 มื้อ70 บาท            เป็นเงิน  .....4,900............  บาท 3  ค่าวิทยากร  1 ท่าน 400 บาท/ ชม *4 ชม              เป็นเงิน  .....1,600.............  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและเกิดภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activitives of Daily Living :ADL) 3. ผู้สูงอายุได้รับการแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุจากการเยี่ยมบ้านตามแผน 4. อสม. จิตอาสามีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการส่งต่อและติดตามผู้สูงอายุพร้อมกับเจ้าหน้าที่.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและเกิดภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
2. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activitives of Daily Living :ADL)
3. ผู้สูงอายุได้รับการแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุจากการเยี่ยมบ้านตามแผน
4. อสม. จิตอาสามีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการส่งต่อและติดตามผู้สูงอายุพร้อมกับเจ้าหน้าที่.


>