กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นโรคระบาดที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คนมีทั้งโรคชนิดใหม่ที่เพิ่งระบาดโรคที่เคยระบาดในอดีตแล้วกลับมาระบาดซ้ำโรคที่พบในพื้นที่ใหม่ โรคที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์ซึ่งโรคอุบัติใหม่เหล่านี้ถือเป็นวิกฤติการณ์ทางสาธารณสุขของโลกและมีแนวโน้มที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สำหรับวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่กับโลกไปอีกไม่นาน เพราะในที่สุดมนุษย์ก็ต้องหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ แต่สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปคือ รูปแบบพฤติกรรมที่จะเป็น “New Normal หรือความปกติใหม่” ที่มนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาเทคโนโลยีออนไลน์มากยิ่งขึ้น
ดังนั้นบทบาทการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำจึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในการที่จะเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ และประสานงานเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ และช่วยลดความสูญเสียด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียตระหนักและเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานทบทวนแผนปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพแกนนำให้บรรลุวัตถุประสงค์มีความรอบรู้ทางด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำสู่การปฏิบัติ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำสู่การปฏิบัติ

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพบแกนนำให้มีความรอบรู้ทางด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

แกนนำชุมชน มีการดำเนินงานและขับเคลื่อนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อย่างต่อเนื่อง

0.00
3 3.เพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

มีการทบทวนแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ3 ครั้ง ต่อปี

0.00
4 4. เพื่อ ติดตาม และขับเคลื่อนการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

แกนนำชุมชน มีการดำเนินงานและขับเคลื่อนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการแกนนำชุมชนจำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการแกนนำชุมชนจำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง ๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X ๒๕ บาทX๒ มื้อ ๑ วัน เป็นเงิน 2,500บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนX ๖๐ บาท X ๑ มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท ๓.ค่าวิทยากร ๖๐๐ บาท x ๖ ชม
เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท 4.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 1.5 เมตรเป็นเงิน 500บาท รวม 9,600บาท วัสดุสำนักงาน ๑.ปากกาจำนวน 50 ด้าม X 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท ๒.สมุด จำนวน 50 เล่ม X 20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท 3.ค่ากระเป่าเอกสาร 50 ใบ X 80 บาท เป็นเงิน 4,000บาท รวม5,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ90 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำร้อยละ70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14850.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำชุมชน จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำชุมชน จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X 25 บาทX 2 มื้อวัน เป็นเงิน 2,500 บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน X ๖๐ บาทX ๑ มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท รวม5,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทบทวนแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ3 ครั้ง / ปี 2.แกนนำชุมชน มีการถขับเคลื่อนและพัฒนาการดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. สามารถแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในกรณีโรคระบาดหรือภับพิบัติในพื้นที่ ๒. สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดประจำท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน ๓. ชุมชนเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันในการควบคุมโรคโดยชุมชน ๔. มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน เช่น โรคโควิด 19 โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก โรคอีโบล่า โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ


>