กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2479-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซูฮัยลา ยูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นโรคระบาดที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คนมีทั้งโรคชนิดใหม่ที่เพิ่งระบาดโรคที่เคยระบาดในอดีตแล้วกลับมาระบาดซ้ำโรคที่พบในพื้นที่ใหม่ โรคที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์ซึ่งโรคอุบัติใหม่เหล่านี้ถือเป็นวิกฤติการณ์ทางสาธารณสุขของโลกและมีแนวโน้มที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สำหรับวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่กับโลกไปอีกไม่นาน เพราะในที่สุดมนุษย์ก็ต้องหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ แต่สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปคือ รูปแบบพฤติกรรมที่จะเป็น “New Normal หรือความปกติใหม่” ที่มนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาเทคโนโลยีออนไลน์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นบทบาทการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำจึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในการที่จะเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ และประสานงานเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ และช่วยลดความสูญเสียด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียตระหนักและเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานทบทวนแผนปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพแกนนำให้บรรลุวัตถุประสงค์มีความรอบรู้ทางด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำสู่การปฏิบัติ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำสู่การปฏิบัติ

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพบแกนนำให้มีความรอบรู้ทางด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

แกนนำชุมชน มีการดำเนินงานและขับเคลื่อนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อย่างต่อเนื่อง

0.00
3 3.เพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

มีการทบทวนแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ3 ครั้ง ต่อปี

0.00
4 4. เพื่อ ติดตาม และขับเคลื่อนการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

แกนนำชุมชน มีการดำเนินงานและขับเคลื่อนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,350.00 2 20,350.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการแกนนำชุมชนจำนวน 1 ครั้ง 0 14,850.00 14,850.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำชุมชน จำนวน 1 ครั้ง 0 5,500.00 5,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในกรณีโรคระบาดหรือภับพิบัติในพื้นที่ ๒. สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดประจำท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน ๓. ชุมชนเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันในการควบคุมโรคโดยชุมชน ๔. มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน เช่น โรคโควิด 19 โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก โรคอีโบล่า โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2565 15:55 น.