กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ใส่ใจชุมชน (การจัดการขยะติดเชื้ออันตราย) ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ใส่ใจชุมชน (การจัดการขยะติดเชื้ออันตราย) ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่ ๑๓ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)กระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นย้ำในแถลงการณ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันตนเองเพื่อชะลอการระบาดของ โควิด-19 โดยใช้มาตรการ DMHTT คือ อยู่ห่างไว้ (Distancing: D) ใส่มาสก์กัน (Mask Wearing: M) หมั่นล้างมือ (Hand Washing: H) ตรวจให้ไว (Testing: T) และใช้ไทยชนะ (Thai Cha na: T) โดยมาตรการหนึ่งที่สำคัญเน้นย้ำ คือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อเพื่อป้องกันการสัมผัสและลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยจากการพูด ไอ จาม ทั้งนี้ หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจัดได้ว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วปนเปื้อนด้วยเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของบุคคลผู้ใช้ และอาจยังปนเปื้อนเชื้อโรคจากบุคคลที่ป่วย หรือผู้เป็นพาหะนำโรคได้ ถ้าหากหน้ากากอนามัยเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดแยกอย่างถูกวิธี ถูกทิ้งปะปนกับขยะชุมชน จะส่งผลให้พนักงานที่ทำหน้าที่เก็บขนขยะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด 19 และเมื่อขยะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง ก็อาจเพิ่มโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชนทั้งทางน้ำและทางอากาศ นอกจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานเก็บขยะและคนในชุมชนแล้ว ปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่จัดการไม่ถูกต้องยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยมีองค์ประกอบที่ผลิตจากวัสดุที่ ย่อยสลายยาก เช่น โพลีโพรไพลีน (Polypropylene : PP) ซึ่งเป็นพลาสติก ชนิดหนึ่งที่นำมาขึ้นรูปให้เป็นเส้นใยสังเคราะห์แล้วทอให้เป็นแผ่น รวม ไปถึงลวดสำหรับปรับให้เข้ากับโครงจมูกก็ทำมาจากแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก หรือลวดโลหะอะลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน้ากากอนามัย ข้อมูลการรวบรวมปริมาณขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ที่กรมควบคุมมลพิษ สำรวจผ่านทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2563 จากทั้งหมด 2,690 แห่ง มีปริมาณขยะ 17.89 ตัน ซึ่งมีการนำหน้ากากอนามัยไปทิ้งในบ่อฝังกลบทั่วไป ร้อยละ 25 เผาในเตาขยะติดเชื้อร้อยละ 9 จ้างเอกชนรับกำจัดร้อยละ 8 และรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำจัดถูกวิธีเพียงร้อยละ 51 ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการจัดการขยะติดเชื้อ ควรเน้นการจัดการขยะที่ต้นทาง คือ การสร้างความตระหนักและให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกรุงเทพมหานครได้ออกมา ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนว่าสามารถทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธีได้อย่างไรรวมทั้งประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมืออย่างจริงจังให้ประชาชนคัดแยกและทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี โดยแนะนำให้ประชาชนนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว พับ บรรจุใส่ถุงที่ปิดสนิท มัดปากถุงให้แน่น พร้อมและเขียนหรือติดหน้าถุงว่า “หน้ากากอนามัย” เพื่อจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีต่อไป
ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ในการทิ้งหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนจึงจัดทำโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ใส่ใจชุมชน (การจัดการขยะติดเชื้ออันตราย) ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565 เพื่อลดโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชน ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงการบริหารจัดการขยะ โดยยึดหลัก 3 Rs

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้ ครัวเรือน/ชุมชน มีการคัดแยกและมีการจัดการขยะติดเชื้ออันตราย อย่างถูกต้อง

ครัวเรือน/ชุมชน มีการคัดแยกและมีการจัดการขยะติดเชื้ออันตราย อย่างถูกต้อง

0.00

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงการบริหารจัดการขยะ โดยยึดหลัก 3 Rs

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้นำชุมชน อสม และประชาชนทั่วไป 180

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/06/2022

กำหนดเสร็จ 05/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม ทราบ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม ทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม ทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 27 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมให้ความรู้ เรื่องการจัดการขยะติดเชื้ออันตราย แก่ ผู้นำชุมชน อสม และประชาชน โดยจัดแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 3 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมให้ความรู้ เรื่องการจัดการขยะติดเชื้ออันตราย แก่ ผู้นำชุมชน อสม และประชาชน โดยจัดแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 3 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1  อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน  (1 กค 65) - ค่าอาหารว่าง 20 บ.x 60 คน x 2 มื้อ
- ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 60คน x1มื้อ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บ.x 6ชม.
รุ่นที่ 2 อสม.  ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ ( 4 กค 65 ) - ค่าอาหารว่าง 20 บ.x 60 คน x 2 มื้อ
- ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 60คน x1มื้อ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บ.x 6ชม.
รุ่นที่ 3 ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน (5 กค 65) - ค่าอาหารว่าง 20 บ.x 60 คน x 2 มื้อ
- ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 60คน x1มื้อ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บ.x 6ชม. ค่าวัสดุจัดประชุมให้ความรู้
- ค่าป้ายไวนิลความรู้ 500บ. x 4ป้าย
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ500บ. x 1ป้าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 5 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,220.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะ โดยยึดหลัก 3 Rs
ครัวเรือน/ชุมชน มีการคัดแยกและมีการจัดการขยะติดเชื้ออันตราย อย่างถูกต้อง


>