กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 8 และ 13 ตำบลโคกสัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ในปี พ.ศ.2562-2564 กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ 30-60 ปี ทั้งหมดจำนวน 356 คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 41.57พบความผิดปกติ (อักเสบ)3รายรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั้ง3ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถค้นหามะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน จึงได้จัดทำโครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565 ขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองหา cell มะเร็งปากมดลูก และส่งต่อเข้าระบบการรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.สตรีอายุ30-60ปี มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ90

0.00
2 สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

0.00
3 กลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาทุกราย

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

0.00

เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง 84

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 20/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและอสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและอสม. ทราบ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน 45 คนๆละ 1 มื้อๆ  ละ 20 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 5 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่สตรีอายุ 30- 60 ปี จำนวน 84 คน จำนวน 2 รุ่นๆละ 42 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่สตรีอายุ 30- 60 ปี จำนวน 84 คน จำนวน 2 รุ่นๆละ 42 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1  วันที่ 11 กรกฏาคม 2565 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ  จำนวน  46 คนๆละ2 มื้อๆ ละ 20 บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน  46 คนๆละ1 มื้อๆ ละ 60 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
รุ่นที่ 2 วันที่ 12 กรกฏาคม 2565         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ  จำนวน  46 คนๆละ2 มื้อๆ ละ 20 บาท
        -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน  46 คนๆละ1 มื้อๆ ละ 60 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
-ค่าถ่ายเอกสารใบความรู้หน้าหลัง(แผ่นพับสี) จำนวน 100 แผ่นๆละ 10 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำนวัตกรรม ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเคลื่อนที่“Delivery lady check”  เป็นเงิน 16,940 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 12 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,640.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรม/ทุกรายการ สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 3๐-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


>