โครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565
ชื่อโครงการ | โครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2565 |
รหัสโครงการ | 65-L3330-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน |
วันที่อนุมัติ | 10 มิถุนายน 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2565 - 20 กรกฎาคม 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 สิงหาคม 2565 |
งบประมาณ | 31,640.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจินดาพัฒน์ แม่ลิ่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.398898,100.148106place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 84 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ในปี พ.ศ.2562-2564 กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ 30-60 ปี ทั้งหมดจำนวน 356 คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 41.57พบความผิดปกติ (อักเสบ)3รายรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั้ง3ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถค้นหามะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน จึงได้จัดทำโครงการหญิงไทยรู้ทันมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565 ขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองหา cell มะเร็งปากมดลูก และส่งต่อเข้าระบบการรักษาต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก 1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.สตรีอายุ30-60ปี มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ90 |
0.00 | |
2 | สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 |
0.00 | |
3 | กลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาทุกราย กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย |
0.00 |
1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 3๐-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2565 00:00 น.