กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพ แก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรพ.สต.บ้านปาแดรู

ม.1 ม.3 ม.5 ต.กาตอง อ.ยะหา จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

80.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การพัฒนางานสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อการ มีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีความสุขประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ รัฐเป็นผู้สนับสนุนและระบบบริการสุขภาพ ก็ต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพ ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก มีประสิทธิภาพโดยการร่วมกับองค์กรภาคประชาชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป และกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆนั้นคือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือก่อนคลอด 5 ครั้ง และรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตนเอง วิธีการปฏิบัติตน ที่ถูกต้องที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการคลอดในสถานบริการสาธารณสุข และการดูแลหลังคลอดให้ครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน
สุขภาพอนามัยแม่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดมาจนถึงระยะภายหลังคลอดหรือโรคหลายอย่างที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดจะมีผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ด้วย เช่น โรคเอดส์ โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ ดังนั้น การดูแลสุขภาพของคนเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การฝากครรภ์ การคลอดที่ถูกวิธีจะทำให้แม่และลูกมีสุขภาพดีสมบูรณ์ แข็งแรง สมองแจ่มใส สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติในสังคมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัวเพราะครอบครัวมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดและการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ในเรื่องแม่และเด็กก็มีความจำเป็นอย่างมาก
จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2564 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า2,500 กรัม ร้อยละ 7.41 ตามตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ7 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 92.31 ตามตัวชี้วัด >60% การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 86.54 ตามตัวชี้วัด >65%หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 82.61 ตามตัวชี้วัด>65% อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดร้อยละ18.67 ตามตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 10
หากไม่ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในอนาคตได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูตำบลกาตองอำเภอยะหาจังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์คุณภาพ แก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 65

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65

65.00 65.00
2 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65

65.00 65.00
3 มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00 90.00
4 อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (Hct < 33% ) ไม่เกินร้อยละ 10

อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (Hct

10.00 10.00
5 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500กรัม ผ่านเกณฑ์          ไม่เกินร้อยละ 7

7.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ 1.1กิจกรรมย่อย อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เรื่องการดูแลแม่และเด็ก 1.2 กิจกรรมย่อย แจกอาหารเสริม (นม) สำหรับหญิงตั้งครรภ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการประเมินภาวะเสี่ยงที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด
  3. หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  4. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  5. หญิงตั้งครรภ์ไปคลอดที่โรงพยาบาล
  6. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการประเมินภาวะเสี่ยงที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด
3. หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
4. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
5. หญิงตั้งครรภ์ไปคลอดที่โรงพยาบาล
6. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตามเกณฑ์


>