กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ แก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ปี2565
รหัสโครงการ 65-l4145-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรพ.สต.บ้านปาแดรู
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอูแมกลือซง อาแด
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.กาตอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การพัฒนางานสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อการ มีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีความสุขประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ รัฐเป็นผู้สนับสนุนและระบบบริการสุขภาพ ก็ต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพ ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก มีประสิทธิภาพโดยการร่วมกับองค์กรภาคประชาชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป และกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆนั้นคือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือก่อนคลอด 5 ครั้ง และรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตนเอง วิธีการปฏิบัติตน ที่ถูกต้องที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการคลอดในสถานบริการสาธารณสุข และการดูแลหลังคลอดให้ครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน สุขภาพอนามัยแม่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดมาจนถึงระยะภายหลังคลอดหรือโรคหลายอย่างที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดจะมีผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ด้วย เช่น โรคเอดส์ โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ ดังนั้น การดูแลสุขภาพของคนเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การฝากครรภ์ การคลอดที่ถูกวิธีจะทำให้แม่และลูกมีสุขภาพดีสมบูรณ์ แข็งแรง สมองแจ่มใส สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติในสังคมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัวเพราะครอบครัวมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดและการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ในเรื่องแม่และเด็กก็มีความจำเป็นอย่างมาก จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2564 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า2,500 กรัม ร้อยละ 7.41 ตามตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ7 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 92.31 ตามตัวชี้วัด >60% การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 86.54 ตามตัวชี้วัด >65%หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 82.61 ตามตัวชี้วัด>65% อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดร้อยละ18.67 ตามตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 10
หากไม่ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในอนาคตได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูตำบลกาตองอำเภอยะหาจังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์คุณภาพ แก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 65

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65

65.00 65.00
2 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65

65.00 65.00
3 มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00 90.00
4 อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (Hct < 33% ) ไม่เกินร้อยละ 10

อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (Hct

10.00 10.00
5 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500กรัม ผ่านเกณฑ์          ไม่เกินร้อยละ 7

7.00 7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อ 0 20,000.00 -
รวม 0 20,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการประเมินภาวะเสี่ยงที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด
  3. หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  4. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  5. หญิงตั้งครรภ์ไปคลอดที่โรงพยาบาล
  6. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตามเกณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2564 00:00 น.