กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนและจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

สำนักงานเลฃานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. 074-261111 , 086-2907721

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ ด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง
แผนสุขภาพชุมชน เป็นแผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากรภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ จึงต้องส่งเสริมให้คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตลอดจนสามารถจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อให้มีแผนงาน/โครงการสำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนและจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง และสามารถจัดทำแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารจัดการ
ข้อ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ข้อ 3 เพื่อสร้างประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน ให้สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อ 4 เพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 48

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/08/2022

กำหนดเสร็จ 27/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างเหมาเช่ายานพาหนะพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงและพนักงานขับรถ (รถโดยสาร ปรับอากาศ ขนาด 48 ที่นั่ง) จำนวน 1 คัน ระยะเวลา 2 วันๆ ละ 11,500 บาท เป็นเงิน23,000บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 5,760บาท
  3. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 15,360บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300บาท
  5. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 7 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200บาท
  6. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน จำนวน 1 ชิ้นๆ ละ 1,100 บาท เป็นเงิน 1,100บาท
  7. ค่าเช่าที่พัก 1 คืน จำนวน 24 ห้องๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 24,000บาท
  8. ค่าห้องประชุม จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 1,000 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท

รวมเงิน 78,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2565 ถึง 27 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง
  2. การอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  3. สามารถนำนวัตกรรมชุมชนมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. มีแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
78720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง
2. สามารถนำความรู้จากการศึกษาดูงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานสุขภาพชุมชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับชุมชน
4. ทำให้มีแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์ เพื่อใช้สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน


>