กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนและจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์
รหัสโครงการ 65-L1501-4-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลฃานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2565 - 27 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2565
งบประมาณ 78,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านโพธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ส.ค. 2565 27 ส.ค. 2565 78,720.00
รวมงบประมาณ 78,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ ด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง แผนสุขภาพชุมชน เป็นแผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากรภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ จึงต้องส่งเสริมให้คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตลอดจนสามารถจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อให้มีแผนงาน/โครงการสำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนและจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 - 27 ส.ค. 65 ศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 78,720.00 -
รวม 0 78,720.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง
  2. สามารถนำความรู้จากการศึกษาดูงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานสุขภาพชุมชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับชุมชน
  4. ทำให้มีแผนสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโพธิ์ เพื่อใช้สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2565 00:00 น.