กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมอประจำบ้านดูเเลทุกกลุ่มวัย ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน

1. นายมอฮัมหมาด เทศอาเส็น
2. นายสงบ รักงาม
3. นายนที หลังเกตุ
4. น.ส นริศราแกสมาน
5. นายสอหมาด มาลินี

8 หมู่บ้านเขต อบต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

60.00
2 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

 

60.00

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และปรับเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย1. กลุ่มเด็ก 0-5 ปี2. กลุ่มสตรีมีครรภ์3. กลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 4. กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช 5. กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน และ 6. กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคเป็นธรรมนั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ คือการมีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและ การฟื้นฟูสภาพ
ซึ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-๑๙ ที่ผ่านมา ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ไม่ได้ดำเนินการ ติดตามเยี่ยม เนื่องจากสถานการณ์ในพื้นที่พบผู้ติดเชื้อค่อนข้างเยอะ ทำให้ขาดการรายงานการติดตามจึงพบว่า บางครอบครัว ที่ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส ยังขาดการดูแลที่เหมาะสม มีอาการแทรกซ้อน ทำให้ขาดคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต่อยอด จากการดำเนินงานให้เกิดกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย ขึ้น เพื่อ สร้าง พัฒนา นักจัดการสุขภาพในพื้นที่เพิ่มขึ้น และ ให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว ( อสค.) ขึ้น เพื่อเชื่อมการทำงานในระดับชุมชน สู่การดูแลในระดับครอบครัว เพื่อพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้าน การออกแบบการช่วยเหลือร่วมกันในการดูแล การติดตาม หรือการประสานงานภาคีเครือข่ายภายนอก ในการร่วมช่วยเหลือในการดำเนินชีวิต กรณีผู้ด้อยโอกาส และ เพื่อให้เข้าถึงบริการคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขยายผลการพัฒนารูปแบบคลินิกหมอครอบครัวในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

60.00 60.00
2 เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ

ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 55
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/07/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีพัฒนา ทักษะทีม หมอประจำครอบครัว หมอคนที่ 1 โดยเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน รวม ๖๐ คน จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีพัฒนา ทักษะทีม หมอประจำครอบครัว หมอคนที่ 1 โดยเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน รวม ๖๐ คน จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วิเคราะห์ข้อมูลรายกลุ่มวัย
  • ออกแบบรูปแบบการเยี่ยมบ้าน แบบมีส่วนร่วม/กำหนดบทบาทหน้าที่/จัดทำแผน
  • มีการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน โดยมีประจำครอบครัวเป็นพี่เลี้ยง
  • สรุปข้อเรียนรู้ / แนวทางการติดตาม -ค่าอาหารกลางวัน  50 บ. x 60 คน x 2 วัน =6,000 บ. -ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 4 มื้อ  x 60  คน =6,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2565 ถึง 19 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัว ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชน อาสาสมัครประจำครอบครัว ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชน อาสาสมัครประจำครอบครัว ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชน อาสาสมัครประจำครอบครัว ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วัน จำนวน 100 คน (จาก 8  หมู่บ้าน) เพื่อการส่งเสริมความรู้การจัดการสุขภาพในชุมชนและการติดตามเยี่ยม
2.1 เด็ก 0-5 ปี 2.2 กลุ่มสตรีมีครรภ์ 2.3 กลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2.4 กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช 2.5 กลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช 2.6 กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน 2.7 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน 3. จัดทำแผนปฏิบัติงานและออกเยี่ยมในชุมชนและสนับสนุนชุดเยี่ยมบ้านแก่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน 4. ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ ร่วมกับทีมหมอประจำครอบครัว ในการดูแล แนะนำ ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย
5. นักสุขภาพประจำครอบครัว ติดตามต่อเนื่อง โดยเป็นพี่เลี้ยง ให้แก่ อาสาสมัครประจำครอบครัว หากในรายที่พบความผิดปกติและการช่วยเหลือ ประสานทีมหมอประจำครอบครัวต่อไป

-ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. x 100 คน =5,000 บ. -ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 2 มื้อ  x 100  คน = 5,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2565 ถึง 4 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมและการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ

ชื่อกิจกรรม
ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ ร่วมกับทีมหมอประจำครอบครัว ในการดูแล แนะนำ ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย
2.นักสุขภาพประจำครอบครัว ติดตามต่อเนื่อง โดยเป็นพี่เลี้ยง ให้แก่ อาสาสมัครประจำครอบครัว หากในรายที่พบความผิดปกติและการช่วยเหลือ ประสานทีมหมอประจำครอบครัวต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่ได้รับการเยี่ยม พบความผิดปกติ ส่งต่อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 100 และกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ร้อยละ 85 พร้อมทั้งมีเครือข่ายแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม


>