กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาหลง

1.นางสาวธิดารัตน์ ใหม่แย้ม ประธานกลุ่ม
2.นายอับดุลเล๊าะสาแมรองประธาน
3. นางสาวพาตีเมาะอาแว เหรัญญิก
4. นางสุพินแท่นมุกข์กรรมการ
5. นางประจินเมธา กรรมการ

ตำบลกาหลง อ.ศรีสาครจ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย

 

80.00

โรคติดต่อนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เช่นโรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และไดรับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้มาลาเรีย ไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกฝ่ายหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ ที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายเชื้อ สถาณการณ์ของไข้มาลาเรียใน ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2560-2562 มีผู้ป่วยเท่ากับ 77 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 2,488.69 ต่อประชากรแสนคน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส,กลุ่มงาน สนับสนุนวิชาการงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค,สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส 2562) จะ เห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยในตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร มีอัตราผู้ป่วยเป็นจำนวนมสก จึงนับได้ว่าเป็นปัญหา ทางด้านสาธารณสุขของตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร ที่อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการ อสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการป้องกันโรคมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ อสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการป้องกันโรคมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 44 คน 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน  1,100

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และการป้องกันโรคมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และการป้องกันโรคมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 25 บาท 60 คน 2 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท -อาหารกลางวัน 75 บาท 60 คน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 3 การควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
การควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันโรคมาลาเรีย 1X 3 เมตร  1,000 บาท 4 ผืน  เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าตอบแทนผู้พ่นน้ำยา วันละ 200 /คย/วัน 2 คน 16 วัน เป็นเงิน 6,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคนำโดยแมลง
2.ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียเกิดใน generation 2
3. ผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา


>