กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลท่าหิน ปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน

พื้นที่ตำบลท่าหิน ม.1-6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งทีทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พบว่าปัญหาไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากข้อมูล รง.506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 8396 ราย อัตราป่วย 12.64 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต6ราย อัตราป่วยตายรายละ 0.01 จังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา(รง.506)สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ตุลาคม 2564 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 68 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 4.74 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 20.53 รองลงมา 5-9 ปี ร้อยละ 18.27 และพบมากที่สุดในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 55.60 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 15.03 อำเภอสทิงพระ ก็เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.04 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลท่าหิน ตั้งแต่ปี2560จนถึง2564 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2,1,1,1และ0 รายตามลำดับ อัตราป่วย 81,70,40.85,36.38,38.64และ0.00 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน และจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564 ตำบลท่าหิน ไม่พบผู้ป่วยไขเลือดออก จากสถานการณ์ภาพรวม คาดว่าโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากมีการระบาดของโรคเกิดในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงค่อนข้างสูงมาก โรคไข้เลือดมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้น จะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายำม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้น่าชุมชน และประชาชนทั่วไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565 นั้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2560-2564)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 2.หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3.ร้อยละ100ของรพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่าCIเท่ากับ0

90.00
2 เพื่อกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีค่าHIน้อยกว่าร้อยละ 10

100.00
3 เพื่อให้รพ.สต. โรงเรียน วัด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯปลอดลูกน้ำยุงลาย

1.ร้อยละของครัวเรือน มีค่า HI < 10, CI=0 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับค่าMEDAIN ย้อนหลัง 5ปี

25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันรณรงค์ และควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันรณรงค์ และควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1.จัดเวทีประชาคมสุขภาพเพื่อชี้แจงสภาพปัญหา ร่วมแสดงความคิด เพื่อแนวทางแก้ไข้ปัญหา 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ 3.จัดซื้อ วัสอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน รณรงค์ และควบคุมโรค เมื่อมีการระบาด 4.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 5.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่อสม. 2.จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล 3.อสม.ร่วมกับเจ้าของบ้านสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์ และอสม.ส่งรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน 4.รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย และจัดBig Cleaning ในชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และโรงพยาบาลส่งเสริม เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงปีละ 4 ครั้ง (ธค มีค มิย กย)
5.ให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นไวนิล การจัดนิทรรศการและแจกเอกสาร แผ่นพับ 6.พ่นควันเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย 7.ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ช่วงที่มีการระบาดของโรคในพื้นที่ 7.1 ใช้สเปรย์ฉีดยุงตัวแก่ในบ้านของผู้ป่วยกรณีไม่สามารถพ่นหมอกควันได้ 7.2สนับสนุนโลชั่นทากันยุงแก่ผู้ป่วย ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 และผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก 7.3พ่นควันเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยและละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี100 จำนวน2ครั้งห่างกัน7วัน 8.สุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และรพ.สต.ปีละ4ครั้ง 9.เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นประเมินผล 1.ติดตามผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน/ตำบล 2.ผลการรายงานกิจกรรมการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดย อสม.ทุกเดือน 3.สรุป/รายงานสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในตำบลท่าหิน 4.สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการ รายละเอียดงบประมาณ 1.ค่าทรายทีมีฟอส จำนวน6ถัง เป็นเงิน27,000บาท 2.ค่าโลชั่นทากันยุง ขนาด60มล. จำนวน90หลอด 5,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี (2560-2564) 2.หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ 3.รพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่า CIเท่ากับ0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี (2560-2564)
2.หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
3.รพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่า CIเท่ากับ0


>