กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลพะตง

พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลพะตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และยังพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) ซึ่งพบว่ามีการเกิดโรคเป็นประจำทุกปี บางปีก็กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อก และอาจเสียชีวิตได้ นับว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มประชากรที่เกิดโรคมากที่สุด คือกลุ่มอายุ ๑๐ – ๑๔ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียน ช่วงเวลาของการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดโรคเกิดขึ้นทุก ๆ เดือน
จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคแล้วมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค เช่น มีน้ำขังตามแอ่ง และภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้และไม่ใช้ ภายในบ้านเรือน โรงเรียน วัด และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เหมาะสำหรับการวางไข่ของยุงลาย เมื่อยุงลายโตเป็นตัวเต็มวัยแล้ว ยุงลายตัวเมียจะเป็นพาหะนำโรค เมื่อดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อ เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่น ๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา
เขตเทศบาลตำบลพะตง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.256๒ พบผู้ป่วย 9 ราย พ.ศ. 256๓ พบผู้ป่วย 17 รายพ.ศ. 256๔ พบผู้ป่วย 6 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต(ข้อมูลจากเทศบาลตำบลพะตง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม 256๕) การระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนด้วย ซึ่งการระบาดในปีที่ผ่านมาและในช่วงต้นปี 256๔ พบผู้ป่วยต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 256๔ ทั้งนี้จากการดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายทุกชุมชน เป็นประจำทุกเดือน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำปี 256๔ พบว่าค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังเกินเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลพะตง ได้จัดทำโครงการ“โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย ประจำปี 256๕” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียน และทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลายร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพะตง ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. วางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1. วางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ  อสม. จำนวน 57 คน คนละ 35 บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 1,995 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน คนละ 35 บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 105 บาท
  • ป้ายโครงการ ขนาด 1 × 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

กิจกรรมที่ 2 เดินรณรงค์ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าน้ำดื่มและน้ำแข็งเดินรณรงค์ สำหรับ อสม. และเจ้าหน้าที่ จำนวน     3 เดือน เดือนละ 600 บาท เป็นเงิน    1,8๐๐ บาท
  2. ค่าสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด จำนวน 9 ชุมชน ชุมชนละ ๔ ป้าย ป้ายละ 150 บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท
  3. ไฟฉาย จำนวน 9 ชุมชน ชุมชนละ 2 กระบอก กระบอกละ 200 บาท เป็นเงิน 3,60๐ บาท
  4. ทรายอะเบท จำนวน 9 ชุมชน ชุมชนละ 1 ถัง ถังละ 4,900 บาท เป็นเงิน 44,100 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53100.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เรื่องโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เรื่องโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 × 2 เมตร จำนวน 9 ผืน ผืนละ 240 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4875.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ  อสม. จำนวน 57 คน คนละ 35 บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 1,995 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน คนละ 35 บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 105 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นกระดาษปรู๊ฟ ปากกาเคมี ฯลฯ เป็นเงิน 975 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4875.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเข้าเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • กระดาษ A 4 จำนวน 1 รีม เป็นเงิน 125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,715.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลพะตงลดลง
๓. ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก


>