กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-l7890-002-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 76,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลพะตง โดยนายจตุรงค์ ลิ่มดิลกธรรม ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลพะตง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.862535,100.466946place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 76,000.00
รวมงบประมาณ 76,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และยังพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) ซึ่งพบว่ามีการเกิดโรคเป็นประจำทุกปี บางปีก็กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อก และอาจเสียชีวิตได้ นับว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มประชากรที่เกิดโรคมากที่สุด คือกลุ่มอายุ ๑๐ – ๑๔ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียน ช่วงเวลาของการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดโรคเกิดขึ้นทุก ๆ เดือน
จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคแล้วมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค เช่น มีน้ำขังตามแอ่ง และภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้และไม่ใช้ ภายในบ้านเรือน โรงเรียน วัด และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เหมาะสำหรับการวางไข่ของยุงลาย เมื่อยุงลายโตเป็นตัวเต็มวัยแล้ว ยุงลายตัวเมียจะเป็นพาหะนำโรค เมื่อดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อ เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่น ๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา เขตเทศบาลตำบลพะตง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.256๒ พบผู้ป่วย 9 ราย พ.ศ. 256๓ พบผู้ป่วย 17 รายพ.ศ. 256๔ พบผู้ป่วย 6 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต(ข้อมูลจากเทศบาลตำบลพะตง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม 256๕) การระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนด้วย ซึ่งการระบาดในปีที่ผ่านมาและในช่วงต้นปี 256๔ พบผู้ป่วยต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 256๔ ทั้งนี้จากการดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายทุกชุมชน เป็นประจำทุกเดือน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำปี 256๔ พบว่าค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังเกินเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลพะตง ได้จัดทำโครงการ“โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย ประจำปี 256๕” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลาย และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียน และทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลายร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพะตง ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และชุมชน

โรงเรียน วัด ค่า CI = 0 ชุมชน ค่า HI < 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 วางแผนการดำเนินงาน(1 ก.ค. 2565-30 ก.ค. 2565) 2,340.00      
2 เดินรณรงค์ในพื้นที่(1 ก.ค. 2565-30 ก.ค. 2565) 68,100.00      
3 ประชาสัมพันธ์เรื่องโรค(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 2,160.00      
4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(30 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 2,950.00      
5 รายงานผล(30 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 450.00      
รวม 76,000.00
1 วางแผนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,340.00 1 2,340.00
1 - 30 ก.ค. 65 วางแผนการดำเนินงาน 0 2,340.00 2,340.00
2 เดินรณรงค์ในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 68,100.00 1 68,100.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 เดินรณรงค์ในพื้นที่ 0 68,100.00 68,100.00
3 ประชาสัมพันธ์เรื่องโรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,160.00 1 2,160.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ประชาสัมพันธ์เรื่องโรค 0 2,160.00 2,160.00
4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,950.00 1 3,200.00
30 ก.ย. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,950.00 3,200.00
5 รายงานผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 450.00 1 200.00
1 ก.ค. 65 สรุปผลการดำเนินงาน 0 450.00 200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลพะตงลดลง ๓. ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 00:00 น.