กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถอดบทเรียนชุมชนปลอดบุหรี่ บ้านโคกดีปลี ม.3 ตุยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

โรงพยาบาลหนองจิก

หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 ในกลุ่มที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 จากประชากรทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำถึง 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.8 และสูบเป็นครั้งคราว 1.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.3 ส่วนผู้ที่เคยสูบแต่เลิกแล้วพบเพียง 3.7 ล้านคน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนั้นมากกว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 61.7 ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ สูบบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงาน รองลงมาสูบบุหรี่มวนเอง ร้อยละ 55.4 เมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ตามกลุ่มวัย พบว่า กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด ร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) ร้อยละ16.6 และ 14.7 ตามลำดับ และเมื่อจำแนกรายภูมิภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น โดย มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.1 จากประชากรทั้งหมด ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีจำนวน 1.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 54.3 จากคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีมีสถานการณ์การบริโภคยาสูบพบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของผู้สูบที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มากเป็นอันดับที่ ๑๑ ของประเทศไทยอยู่ถึงร้อยละ 2๓.๔0 และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 จังหวัดปัตตานีมีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงเหลือร้อยละ 21.4 จากฐานของประเทศไทยอัตราการสูบอยู่ที่ร้อยละ 17.4
จากการดำเนินงานบุหรี่ของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิกโดยขยายลงสู่ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบตำบลตุยงภายใต้การดำเนินงาน โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ ณ ชุมชนบ้านโคกดีปลี หมู่ที่ 3 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในปี 2563-2564 ประกอบด้วยกิจกรรม การประขุมผู้นำในชุมชน , การอบรมให้ความรู้เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่ , การประชุมติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน และการจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสร้างกระแสในชุมชน พบว่า การประชุมผู้นำชุมชนได้เข้าร่วม จำนวน 35 คน เพื่อรับทราบโครงการและการดำเนินงาน รวมถึงวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน , ให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน จำนวน ๕๐ คน , ร่วมกันค้นหาผู้สูบบุหรี่นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยความสมัครใจ มีผู้สูบบุหรี่เข้าร่วม จำนวน ๒๖ คน , พยาบาลให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่และแนะนำให้ใช้สมุนไพรมะนาวในการช่วยเลิกบุหรี่ พรัอมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน ๕ ครั้งใน ๑ ปี โดยประสานอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ติดตามหรือพยาบาลในคลินิกอดบุหรี่โทรติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกได้ จำนวน 11 คน โดยวิธีการหักดิบ ไม่ใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 42.30 และมอบเกียรติบัตรคนต้นแบบการเลิกบุหรี่ได้ในชุมชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง , คนในชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรการปลอดบุหรี่ของชุมชนเพื่อปฏิบัติร่วมกัน , เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขได้ตรวจเยี่ยมร้านค้าให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการร้านค้าที่ขายบุหรี่ในชุมชน จำนวน ๓ ร้าน เพื่อแนะนำการปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่ถูกต้องและแจกเอกสารโปสเตอร์ข้อกฎหมายติดประกาศร้านค้าให้ลูกค้าได้รับทราบและร่วมปฏิบัติตามเช่นกัน
ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิก ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของชุมชนปลอดบุหรี่เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูบบุหรี่รายเก่าในชุมชน โดยนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดและให้คำปรึกษา ติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้คนในชุมชนสามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย ๑ ปีขึ้นไป และได้บุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ขยายต่อไป รวมถึงจัดทำรายงานวิจัยชุมชนปลอดบุหรี่ กรณีศึกษาโดยเน้นชุมชนมีส่วนร่วม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โทษพิษภัยบุหรี่ การคัดกรองผู้สูบ แนะนำวิธีการเลิกบุหรี่ได้ระดับเบื้องต้น

ร้อยละ ๗๐ ของเครือข่ายสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โทษพิษภัย การคัดกรองผู้สูบบุหรี่ แนะนำวิธีการเลิกบุหรี่ได้ระดับเบื้องต้น

60.00 42.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ ๑๕ ขี้นไปในชุมชน ได้รับการคัดกรองบุหรี่

ร้อยละ 45 ของผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองบุหรี่

60.00 27.00
3 เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับการคัดกรองและเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในคลินิกอดบุหรี่สัญจร

ร้อยละ 50 ของผู้สูบบุหรี่ได้รับการคัดกรองเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาในคลินิกอดบุหรี่สัญจร

60.00 30.00
4 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพมีการติดตามพฤติกรรมผู้สูบบุหรี่ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 10 ของผู้เข้ารับการบำบัดให้เลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป

60.00 6.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ ร่วมวางแผนการดำเนินงาน และประเมินติดตาม จำนวน ๒ ครั้ง - ค่าอาหารกลางวัน ๓๐ คน x ๖๐ บาท x ๒ ครั้งเป็นเงิน๓,๖๐๐ บาท - ค่าอาหารว่าง ๓๐ คน x ๓๕ บาท x ๒ มื้อ x ๒ ครั้งเป็นเงิน๔,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๗,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ และร่วมวางแผนการดำเนินงาน และประเมินติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้การบำบัด และติดตามพฤติกรรมการสูบในชุมชน จำนวน ๒ ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้การบำบัด และติดตามพฤติกรรมการสูบในชุมชน จำนวน ๒ ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองกลุ่มเป้าหมายผู้สูบบุหรี่  ให้การบำบัด และติดตามพฤติกรรมการสูบในชุมชน จำนวน ๒ ครั้ง - ค่าอาหารกลางวัน ๒๕ คน x ๖๐ บาท x ๒ ครั้ง  เป็นเงิน  ๓,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารว่าง ๒๕ คน x ๓๕ บาท x ๒ มื้อ x ๒ ครั้ง  เป็นเงิน  ๓,๕๐๐  บาท   รวมเป็นเงิน   ๖,๕๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายผู้สูบบุหรี่  ให้การบำบัด และติดตามพฤติกรรมการสูบในชุมชน
  • มีจำนวนเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้การบำบัดและการติตตาม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมถอดบทเรียนและประสบการณ์การเลิกบุหรี่ของผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย ๑ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและประสบการณ์การเลิกบุหรี่ของผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย ๑ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมถอดบทเรียนและประสบการณ์การเลิกบุหรี่ของผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย ๑ ปีขึ้นไป
- ค่าอาหารกลางวัน ๒๐ คน x ๖๐ บาท x ๒ ครั้ง    เป็นเงิน  ๒,๔๐๐ บาท - ค่าอาหารว่าง ๒๐ คน x ๓๕ บาท x ๒ มื้อ   x ๒ ครั้ง    เป็นเงิน  ๒,๘๐๐  บาท   รวมเป็นเงิน   ๕,๒๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีข้อมูล ประเด็นสำคัญ ที่ได้จากการถอดบทเรียน
  • มีข้อมูลที่สามารถนำไปปรับใช้ขยายผลทำกิจกรรมในหมู่บ้านอื่นๆต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
๑. ประชุมเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ ผู้นำในชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ความรู้ ร่วมวางแผนการดำเนินงาน กำหนดมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่เพิ่มเติมหรือแก้ไข และลงประเมินติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ครั้ง
๒. ประชุมกลุ่มเป้าหมายผู้สูบบุหรี่เพื่อคัดกรองการสูบบุหรี่และการดื่มสุราร่วมกัน และให้การบำบัดในชุมชนร่วมกับอสม.
๓. ประชุมเครือข่ายสุขภาพ เพื่อติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และมอบเกียรติบัตรคนเลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
4. ประชุมถอดบทเรียนและประสบการณ์การเลิกบุหรี่ของผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างน้อย ๑ ปีขึ้นไป

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูบบุหรี่เข้าถึงบริการคลินิกอดบุหรี่สัญจรเพื่อให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่ และเกิดบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน
๒. เกิดระบบการเฝ้าระวังการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนโดยมีมาตรการปลอดบุหรี่ของชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน
3. ร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชนถือปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่ถูกต้อง
4. บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์แก่เยาวชนรุ่นใหม่และผู้สูบบุหรี่ให้เลิกได้


>