กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ท่ามิหรำรวมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

1.นางกรุณา วิสโยภาส
2.นายเสริมขวัญนุ้ย
3.นางนันทภรณ์รุยันต์
4.นางหนูพร้อมด้วงเอียด
5.นางสาวสิริรัตน์พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

42.09
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.43

จากข้อมุลทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังของสถานีอนามัยบ้านน้ำเลือดในปี 2553-2564 พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น ข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ ณ ปัจจุบัน มีจำนวน 905 คน ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง 469 คน โรคเบาหวาน 47 คน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 271 คนโรคไตวาย 8 คน โรคหัวใจ 32 คน โรคมะเร็ง 8 คน โรคหลอดเลือดสมอง 40 คน โรคหอบหืด 30 คน และสำหรับปี 2565 จากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 35.43 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.09 ในบระเดียวกันหากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และหากไม่มีการจัดการเกี่ยวกับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้นได้ในอนาคต
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือดกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการท่ามิหรำรวมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพแก่ อสม.และเครือข่ายดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ เพื่อดำเนินงานป้องกันโรคไม่ไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม กลุ่มป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที กลุ่มผู้ป่วยเดิมได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

35.43 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

42.09 20.00
3 เพื่อให้ อสม. มีความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

อสม.มีความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 75
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/08/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุม อสม. และคณะทำงานเพื่อคืนข้อมูลโรคเรื้อรัง และวิเคราะห์สาเหตุปัญหาของโรคเรื้อรัง
  • อบรม อสม. ทบทวนองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2565 ถึง 17 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. มึความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่และประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่จำนวน 75 คนจำนวน 2 วัน - ค่าเหมารถบัส จำนวน 2 วันวันละ 10,000 บาท รวม 2 วัน เป็นเงิน40,000 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการจำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง @ ละ 600 บาทเป็นเงิน 10,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม จำนวน 75 คน คนละ 35 บาท จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 7,875บาท - ค่าอาหารและน้ำดื่มจำนวน 75 คน คนละ 100 บาท จำนวน 3 มื้อเป็นเงิน 22,500 บาท - ค่าที่พัก จำนวน 75 คน คนละ 500 บาท เป็นเงิน 37,500 บาท - ค่าสมนาคุณสถานที่ศึกษาดูงาน 1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2565 ถึง 21 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และคณะ มีความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
119675.00

กิจกรรมที่ 3 การประชุมเครือข่ายเพื่อสรุปการดำเนินงานปี 2565 และจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี 2566

ชื่อกิจกรรม
การประชุมเครือข่ายเพื่อสรุปการดำเนินงานปี 2565 และจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดประชุมเครือข่ายเพื่อสรุปการดำเนินงานปี 2565 และจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปี 2566

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2566

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 119,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 100 ของ อสม. มีความรู้และศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดุแลอย่างต่อเนื่อง
3.อัตราการเกิดโรครายใหม่ ในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 10
4.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพ


>