กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ท่ามิหรำรวมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รหัสโครงการ 65-L3355-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 119,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรุณา วิสโยภาส
พี่เลี้ยงโครงการ นางจำนรรจา ช่วยเนียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
42.09
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
35.43

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมุลทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังของสถานีอนามัยบ้านน้ำเลือดในปี 2553-2564 พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น ข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ ณ ปัจจุบัน มีจำนวน 905 คน ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง 469 คน โรคเบาหวาน 47 คน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 271 คนโรคไตวาย 8 คน โรคหัวใจ 32 คน โรคมะเร็ง 8 คน โรคหลอดเลือดสมอง 40 คน โรคหอบหืด 30 คน และสำหรับปี 2565 จากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 35.43 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.09 ในบระเดียวกันหากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และหากไม่มีการจัดการเกี่ยวกับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือดกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการท่ามิหรำรวมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพแก่ อสม.และเครือข่ายดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ เพื่อดำเนินงานป้องกันโรคไม่ไม่ติดต่อเรื้อรังของตำบลท่ามิหรำ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม กลุ่มป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที กลุ่มผู้ป่วยเดิมได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

35.43 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

42.09 20.00
3 เพื่อให้ อสม. มีความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

อสม.มีความรู้และมีศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 119,675.00 3 119,675.00
17 ส.ค. 65 กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ อสม. 0 0.00 0.00
20 - 21 ส.ค. 65 กิจกรรมศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ 0 119,675.00 119,675.00
15 ก.ย. 65 การประชุมเครือข่ายเพื่อสรุปการดำเนินงานปี 2565 และจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี 2566 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 100 ของ อสม. มีความรู้และศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
  2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดุแลอย่างต่อเนื่อง 3.อัตราการเกิดโรครายใหม่ ในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 10 4.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2565 00:00 น.