กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนโดยธนาคารขยะบ้านตะแพน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

คณะกรรมการ ธนาคารขยะ บ้านตะแพน

1.นายสุธรรม เรืองมี
2.นายคำรณ นาคเกลี้ยง
3.นางสาวจำเนียร อินปาน
4.นายทศพล ช่วยแก้ว
5.นายสายัณห์ หนูเอียด

หมู่ที่ 2 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

155.00
2 กิจกรรมการดำเนินการรับซื้อขยะของธนาคารขยะ/ปี

 

9.00

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการขยายตัวของประชากรสภาพเศรษฐกิจและสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขยะส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคของประชาชน จึงจำเป็นต้องใช้ระบบการจัดการและกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เพื่อป้องกันผลกระทบที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน จากข้อมูลสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศต่อวันในปีพ.ศ.2560พบว่ามีปริมาณ27.37ล้านตันหรือ 74,998 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2559 ร้อยละ 1.15 ที่มี ปริมาณ 27.06 ล้านตัน สาเหตุเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง โดยอัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนประมาณ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (Pollution Control Department, 2018) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนกำหนดเป้าหมายคือ ผลักดันการจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นส่งเสริมการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการร่วมลงทุนของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ สนับสนุนการจัดการขยะครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยลดปริมาณการผลิตขยะและส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ให้มากที่สุด
ทางคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพน เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ต้องการส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งต้องการให้ธนาคารขยะบ้านตะแพนมีกิจกรรมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั้งยืนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนโดยธนาคารขยะบ้านตะแพน โดยปร่ะชาชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

155.00 60.00
2 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพน

คณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพนมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

9.00 12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำชุมชน 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/08/2022

กำหนดเสร็จ 09/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดการขยะแก่แกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดการขยะแก่แกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมปร่ะชุม จำนวน 60คนx25บาทx2มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 60คนx60บาทx1มื้อเป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงx300 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท - ป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะขนาด 1.3 เมตรX2.8 เมตร เป็นเงิน 580 บาท รวมเป็นเงิน 8,980 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2565 ถึง 9 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-แกนนำชุมชนเข้าร่วมประชุมทุกคน -แกนนำชุมชนมีความรู้สามารถคัดแยกขยะและจัดการขยะในครัวเรือนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8980.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมติดตามการดำเนินงานธนาคารขยะของคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพนและที่ปรึกษา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามการดำเนินงานธนาคารขยะของคณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพนและที่ปรึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 12คนx25บาทx2มื้อเป็นเงิน 600 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 12คนx60บาทx1มื้อเป็นเงิน 720 บาท รวมเป็นเงิน1,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2565 ถึง 9 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการธนาคารขยะบ้านตะแพนเข้าร่วมประชุมการดำเนินงานจำนวน 12 คน มีการดำเนินการจัดซื้อขยะที่ธนาคารขยะทุกเดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในจัดการขยะก่อนทิ้ง
- ลดปริมาณขยะ และลดภาระการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการดำเนินงานของธนาคารขยะบ้านตะแพน ให้ยั่งยืน


>