กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและขจัดภัยไข้เลือดออก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อแสนประชากร

 

49.21

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา อีกทั้งการขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่นๆและชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรคไข้เลือดออกรวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปี ระบาด 2564 มีผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน จำนวน1ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.21 ต่อประชากรแสนคน โดยเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน และ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะแพน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและขจัดภัยไข้เลือดออกพื้นที่ รพ.สต.ตะแพน ปี 2565 ขึ้นเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกัน และลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(HI) น้อยกว่า 10

10.00 8.00
2 เพื่อลดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

49.21 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำครอบครัว 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมแกนนำชุมชน ในการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมแกนนำชุมชน ในการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม50 คน x 60 บาทx1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง x 300 บาทเป็นเงิน1,800บาท รวมเป็นเงิน 7,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายโดยเจ้าของบ้านและอสม.
    • สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกสิ้นเดือน ตลอดปี 2565 ทุกครัวเรือน
    • แจกโลชั่นทากันยุงแก่ทุกครัวเรือน ทุก 3 เดือน
    • แจกทรายทีโมฟอสในทุกครัวเรือน ทุก 3 เดือน -พ่นหมอกควันกรณีมีการเกิดโรค/ช่วงเปิดภาคเรียน รร.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ทุกครัวเรือนมีการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและมีการควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยใส่ทรายทีมีฟอส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(กิจกรรมประชุมชี้แจง)
-อาหารกลางวันทีมคณะกรรมการ20 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มทีมคณะกรรมการ 20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท (กิจกรรมประชุมชี้แจง และกิจกรรมประชุมติดตาม) -อาหารกลางวันทีมคณะกรรมการ20 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มทีมคณะกรรมการ 20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท - สุ่มประเมินบ้านเรือนจำนวน 116 ครัวเรือนเพื่อเข้าประเมินกิจกรรมบ้านเรือนสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย แยกเป็น ประเภท1 บ้านอสม.จำนวน 58 ครัวเรือน ประเภท2 บ้านประชาชนทั่วไปจำนวน 58 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 4,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2565 ถึง 23 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีบ้านเข้าร่วมกิจกรรมประกวดจำนวน 116ครัวเรือน -บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านเกณฑ์บ้านต้นแบบ บ้านเรือนสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 4 มอบป้าย" บ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย"

ชื่อกิจกรรม
มอบป้าย" บ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำป้าย บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 12 ป้าย x 125 บาท  เป็นเงิน  1,500  บาท แยกเป็น ประเภท1 บ้านประชาชนทั่วไป ที่มีคะแนนประเมินบ้าน คะแนนเป็นอันดับที่ 1-3ของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 9 ป้าย ประเภท2 บ้านอสม. ที่มีคะแนนประเมินบ้าน คะแนนสูงสุดของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 3 ป้าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2565 ถึง 9 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-บ้านประชาชนทั่วไป ที่มีคะแนนประเมินบ้าน คะแนนเป็นอันดับที่ 1-3ของแต่ละหมู่บ้าน ได้รับป้าย บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย -บ้านอสม. ที่มีคะแนนประเมินบ้าน คะแนนสูงสุดของแต่ละหมู่บ้าน ได้รับป้าย บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย -ประชาชนมีความตะหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-เพื่อควบคุม ป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
-ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
-ประชาชนตระหนักในการร่วมป้องกัน แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก


>