กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายหลัก อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด

ม.๑ ม.๖ ม.๗ ม.๙ ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

206.00

โรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มเด็กปฐมวัย ปัจจุบันฟันผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปี ฟันผุทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ และสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เกิดภาวะเตี้ย แคระแกร็น และมีเส้นรอบวงสมองเล็กกว่าเด็กปกติได้ (สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย, 2556) จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่าร้อยละ 52.90 ของเด็กไทยมีฟันผุอย่างน้อยหนึ่งซี่ มีค่าเฉลี่ยฟัน อุด ถอน (dmft) 2.8 ซี่/คน และเมื่อแบ่งลำดับตามภูมิภาคพบว่า ภาคใต้มีฟันผุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.2 มีค่า dmft เท่ากับ 5.1 ซี่/คน (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561)

จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัย อำเภอศรีบรรพต ปี 2562, 2559,2563 และ2564 พบว่า เด็กมีฟันผุ ร้อยละ 54.9, 58.6, 67.5, และ 59.1ตามลำดับ โดยโรคฟันผุในเด็กเล็กจะลุกลามได้รวดเร็วมากทำให้เด็กจำนวนหนึ่งมีฟันผุเกือบทั้งปาก ปัญหาฟันผุส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็กเล็ก การป้องกันฟันผุที่ได้ผลดียิ่งคือการแปรงฟันให้ถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และลดการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อฟันผุ ร่วมกับการส่งเสริมทันตสุขภาพ และต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ดูแลเด็กในการดูแลทันตสุขภาพร่วมด้วย
งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายหลัก เพื่อออกให้บริการทันตกรรมป้องกัน เน้นการส่งเสริม เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายหลักได้รับการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหลักได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง ข้อที่ 3 เพื่อตัวชี้วัด เด็ก 12 ปีฟันดีไม่มีผุ

1.ร้อยละการเกิดฟันผุลดลงจากปี 2565
2.ค่า dmft ลดลง 3. ค่า caries free เพิ่มขึ้น

207.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. สำรวจเป้าหมายในกลุ่มเป้าหมายหลัก(กลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านสวนโหนดและโรงเรียนบ้านหัสคุณ) 2. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3. ตรวจ/บันทึก สภาวะช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลัก 4. แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก 5. จัดกิจกรรมรณรงค์วันแปรงฟันในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. สำรวจเป้าหมายในกลุ่มเป้าหมายหลัก(กลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านสวนโหนดและโรงเรียนบ้านหัสคุณ) 2. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3. ตรวจ/บันทึก สภาวะช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลัก 4. แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก 5. จัดกิจกรรมรณรงค์วันแปรงฟันในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจ/บันทึก สภาวะช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลัก, สำรวจพฤติกรรรมการดูแลสุขภาพช่องปากจากผู้ดูแลเด็ก
  2. แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กแก่ผู้ดูแลเด็ก
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์วันแปรงฟัน ชุดแปรงสีฟันเด็ก 3-6 ปีชุดละ 40 บ. x 120 ชุด = 4800 บ. ชุดแปรงสีฟันเด็ก 6-12 ปีชุดละ 42 บ. x 87 ชุด = 3654 บ. รวมเงิน 8,454 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุดแปรงสีฟันเด็ก 3-6 ปีชุดละ 40 บ. x 120 ชุด = 4800 บ. ชุดแปรงสีฟันเด็ก 6-12 ปีชุดละ 42 บ. x 87 ชุด = 3654 บ.
    1. ค่า dmft ลดลง
    2. ค่า caries free เพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8454.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,454.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายหลักมีฟันผุลดลงจากปี 2564
2.อัตรา caries free ของกลุ่มเป้าหมายหลัก เพิ่มขึ้น


>