กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา จังหวัดยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา จังหวัดยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา จังหวัดยะลา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในปัจจุบันสถานการณ์และปัญหาวัยรุ่นในสังคมไทยนับวันมีความซับซ้อน วิกฤต และมีความรุนแรงมากขึ้นนักเรียน นักศึกษา ส่วนหนึ่งได้รับการหล่อหลอมจากครอบครัวหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ไม่เหมาะสม เมื่อนักเรียนนักศึกษา เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลาอาจประสบปัญหาบางประการ อาทิเช่น ปัญหาด้านการเรียนการปรับตัว ปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม ปัญหาในการดำเนินชีวิตของตน การคบเพื่อน ปัญหาทางครอบครัว ซึ่งบางครั้งก็อาจประสบปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน จนกระทั่งนักเรียน นักศึกษา รู้สึกว่าการช่วยเหลือตนเอง หรือแก้ปัญหาแต่เพียงลำพังเป็นไปได้ยากและต้องการปรึกษาหารือเพื่อจะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดีหรือในบางครั้งนักเรียน นักศึกษา มีความสนใจที่จะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ดังนั้น การให้คำปรึกษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งของนักเรียน นักศึกษา ที่ประสบปัญหา การให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการ ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยอาศัยการสื่อสารแบบสองทางระหว่างบุคคล คือบุคคลหนึ่งที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา อีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้รับคำปรึกษาได้สำรวจทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นปัญหาและสามารถทำให้ผู้รับคำปรึกษาแสวงหาทางแก้ไขปัญหาด้วย โดยวิทยาลัยฯ ได้จัดครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เพื่อน นักเรียน นักศึกษา ที่ประสบปัญหา
จากการดำเนินการปีการศึกษา 2563พบว่านักเรียน นักศึกษา ที่ผ่านการอบรมให้คำปรึกษา ได้ให้นักเรียน นักศึกษา อยู่เวรประจำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONEเพื่อให้คำปรึกษากับเพื่อนที่มาใช้บริการศูนย์เพื่อนใจ TO BENUMBER ONE ผลการจากดำเนินงานสามารถแก้ไขปัญหานักเรียน นักศึกษา ที่มีปัญหาด้านต่างๆ ได้ จำนวน 32 คน และ ส่งต่อครูฝ่ายปกครอง/ฝ่ายแนะแนว จำนวน 6 คน และฝ่ายปกครองได้ส่งต่อหน่วยงานภายนอก จำนวน 5 คน นักเรียน นักศึกษา ประสบปัญหาโรคซึมเศร้า จำนวน 2 คน ปัญหาด้านสิ่งเสพติด จำนวน 1 คน และปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์ จำนวน 2 คน จากการดำเนินการส่งผลให้นักเรียน นักศึกษา ที่ประสบปัญหาได้รับการช่วยเหลือสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้
ดังนั้น วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ประจำปี 2565 ให้กับนักเรียน นักศึกษาแกนนำ ให้มีทักษะในการให้บริการให้คำปรึกษากับนักเรียน นักศึกษา และวัยรุ่นที่เข้ามารับบริการจากศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นทั้งในด้านการให้คำปรึกษา การดูแลช่วยเหลือเพื่อนวัยรุ่นการจัดกิจกรรมให้วัยรุ่นที่เข้ามารับบริการในศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นภายใต้แนวทางการให้บริการเพื่อปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQมีความสามารถในการปรับตัว ทั้งในด้านการเรียน การรู้จักการป้องกันตนจากปัญหา การปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ไม่เหมาะสมรวมถึงการเรียนรู้การปรับตัวกับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นให้ลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา มีความรู้ มีทักษะ ในการให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่มีปัญหาด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าอบรมมีความรู้ และทักษะในการให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่มีปัญหาด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. นักเรียน นักศึกษา ทุกคนที่เข้าอบรมสามารถให้บริการให้คำปรึกษา กับเพื่อนนักเรียน นักศึกษาที่มีปัญหาได้อย่างน้อยคนละ 1 คน
80.00
2 2. นักเรียน นักศึกษา มีความพึงพอใจในการใช้บริการให้คำปรึกษา
  1. ร้อยละ  80 ของนักเรียน นักศึกษา มีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการให้คำปรึกษา
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักเรียน นักศึกษา จำนวน 60 คน ใช้ระยะเวลา 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักเรียน นักศึกษา จำนวน 60 คน ใช้ระยะเวลา 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 16 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน นักศึกษา มีความรู้ มีทักษะ ในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่มีปัญหาด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. ผู้รับบริการได้รับการช่วยเหลือป้องกันปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง ได้เรียนรู้ถึงปัญหาของตนเอง มีวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดำเนินชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. สามารถแก้ปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลดปัญหาด้านสังคมด้านการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านการเรียนให้ลดลง


>