กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ในพื้นที่ ม.4 มัสยิดยือนัง,ม.5มัสยิดลาแล,ม.7 มัสยิดกาแบ,ลานอเนกประสงค์ โรงเรียนกาบังพิทยาคม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ในประเทศไทยนั้นกลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศา

 

60.00

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ในประเทศไทยนั้นกลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ.๒๕๕๗ -๒๕๖๑ พบอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทยสอดคล้องกับพื้นที่รับผิดชอบ
จากการคัดกรองความดัน-เบาหวานปี ๒๕๖2 – ๒๕๖5 ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ม.๔,ม.๕,ม.๗ รพ.กาบัง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน-เบาหวาน ค่อนข้างสูง ตามลำดับดังนี้๔๙.๙๐% ,๔๓.๗๖ % และ ๒๕.๘๘ อสม.รพ.กาบัง พบกลุ่มปกติ ๔๐% กลุ่มเสี่ยง ๕๒.๕%กลุ่มป่วย ๗.๕%ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ๕๐% มีภาวะน้ำหนักเกิน ๓๗.๕% และมีภาวะอ้วน ๑๒.๕%จากข้อมูลจะเห็นว่ามีแนวโน้มของโรค NCD สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและยังเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ผู้ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาในประชากรไทยที่เป็นเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงควบคุมไม่ได้ พบว่า การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ ๕๐ และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่โรงพยาบาล ดังนั้นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลกาบัง จึงจัดทำโครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2565เพื่อดำเนินการดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงป่วยเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20%

จำนวนกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านฯดังกล่าว วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....3...เดือน

60.00 70.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและติดตามผลของการปรับ พฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส. อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง

จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ปรุงอาหารที่บ้านฯดังกล่าว ปรุงอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ้านแบบอัตโนมัติตามเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน ๑๐  เครื่อง จำนวน ๓ หมู่บ้านๆบ้านละ ๓ เครื่อง และในเขตรพ. ๑ เครื่อง รวม ๑๐ เครื่อง  ราคาเครื่องละ..๑,๕๐๐..บาท
                                                                                        เป็นจำนวนเงิน.  ๑๕,๐๐๐ บาท ค่าอาหารกลางวันจำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท x ๕๒ คน                  เป็นจำนวนเงิน.  ๒,๖๐๐   บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน ๒ มื้อๆละ ๓๕ บาท x ๕๒ คน       เป็นจำนวนเงิน.  ๓,๖๔๐   บาท ค่าวิทยากร ๖ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาท                                         เป็นจำนวนเงิน.  ๑,๘๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต: เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงป่วยเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20% และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและติดตามผลของการปรับ   พฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส. อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ผลลัพธ์:จำนวนกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านฯดังกล่าว วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....3...เดือ จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ปรุงอาหารที่บ้านฯดังกล่าว ปรุงอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จำนวนกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านฯดังกล่าว วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....3...เดือน
จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ปรุงอาหารที่บ้านฯดังกล่าว ปรุงอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้


>