กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2565
รหัสโครงการ 28/2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกาบัง
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาวารี ลอนิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ในประเทศไทยนั้นกลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศา
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ในประเทศไทยนั้นกลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ.๒๕๕๗ -๒๕๖๑ พบอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทยสอดคล้องกับพื้นที่รับผิดชอบ
จากการคัดกรองความดัน-เบาหวานปี ๒๕๖2 – ๒๕๖5 ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ม.๔,ม.๕,ม.๗ รพ.กาบัง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน-เบาหวาน ค่อนข้างสูง ตามลำดับดังนี้๔๙.๙๐% ,๔๓.๗๖ % และ ๒๕.๘๘ อสม.รพ.กาบัง พบกลุ่มปกติ ๔๐% กลุ่มเสี่ยง ๕๒.๕%กลุ่มป่วย ๗.๕%ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ๕๐% มีภาวะน้ำหนักเกิน ๓๗.๕% และมีภาวะอ้วน ๑๒.๕%จากข้อมูลจะเห็นว่ามีแนวโน้มของโรค NCD สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและยังเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ผู้ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาในประชากรไทยที่เป็นเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงควบคุมไม่ได้ พบว่า การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ ๕๐ และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่โรงพยาบาล ดังนั้นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลกาบัง จึงจัดทำโครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2565เพื่อดำเนินการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงป่วยเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20%

จำนวนกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านฯดังกล่าว วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....3...เดือน

60.00 70.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและติดตามผลของการปรับ พฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส. อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง

จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ปรุงอาหารที่บ้านฯดังกล่าว ปรุงอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้

60.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 0 23,040.00 -
รวม 0 23,040.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านฯดังกล่าว วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....3...เดือน จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่ปรุงอาหารที่บ้านฯดังกล่าว ปรุงอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2565 00:00 น.