กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนขยะ (ลดแหล่งพาหะนำโรค) Reduce Carrier Garbage School (RCGS) ตำบลบ้านนา ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

สำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา

1. นายไพโรจน์ราชเทพ ประธานสำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา
2. นายสมบูรณ์ช่วยนะ รองประธานสำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา
3. นายถนอมใหม่แก้ว กรรมการสำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา
4. นายภูษิตเกื้อสุข กรรมการสำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา
5. นางสาวอรวรรณจันทรธนู ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข

พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

7.80
2 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

62.30

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

7.80 15.00
2 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

62.30 52.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมครู ก.ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ/การจัดการขยะที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมครู ก.ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ/การจัดการขยะที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมครู ก.ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ/การจัดการขยะที่ถูกต้อง ให้แก่คณะทำงาน จำนวน 25 คน และคัดเลือกคณะกรรมการติดตามประเมินผลเชิงรุก จำนวน 6 คน จำนวน 1 วัน

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 625 บาท
2. ค่าวัสดุสาธิตในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กรกฎาคม 2565 ถึง 13 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้สมาชิกครู ก. จากคณะกรรมการสำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา จำนวน 25 คน
2. ได้คณะกรรมการติดตามประเมินผลเชิงรุก จำนวน 6 คน

ผลลัพธ์
1. ครู ก. ได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ/การจัดการขยะที่ถูกต้อง และถ่ายทอดความรู้ให้แก่คณะทำงานและตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ 2. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบมีความรู้ ตระหนัก รักษาความสะอาดภายในและนอกครัวเรือนของตนเองและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4025.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำขับเคลื่อนทางความคิดระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำขับเคลื่อนทางความคิดระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแกนนำขับเคลื่อนทางความคิดระดับตำบล โดยมาจากคณะทำงาน จำนวน 25 คน และแกนนำครัวเรือน จำนวน 120 คน

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 145 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 สิงหาคม 2565 ถึง 13 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้สมาชิกแกนนำตัวแทนครัวเรือนขับเคลื่อนทางความคิดระดับตำบล จำนวน 120 คน

ผลลัพธ์
1. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบมีความรู้ ตระหนัก รักษาความสะอาดภายในและนอกครัวเรือนของตนเองและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลเชิงรุก โดยคณะกรรมการติดตามประเมินผลเชิงรุก จำนวน 6 คนๆ ละ 2 ครั้ง

งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนการติดตามประเมินผลเชิงรุก จำนวน 6 คนๆ ละ 2 วันๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 สิงหาคม 2565 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงจากการจัดการขยะในครัวเรือน
2. คณะกรรมการติดตามประเมินผล จำนวน 6 คน ลงประเมินเชิงรุกในแต่ละหมู่บ้าน

ผลลัพธ์
1. ได้ครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะที่ถูกต้องและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดและถูกหลักสุขาภิบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ซึ่งเป็นคณะทำงาน และแกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2566 ถึง 20 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงจากผลสรุปของโครงการ

ผลลัพธ์
1. ครัวเรือน/ชุมชนได้รับการจัดการขยะที่ถูกต้อง สะอาด ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ และสามารถนำขยะที่คัดแยกได้ไปใช้ประโยชน์อื่น และสร้างรายได้ของครัวเรือน
2. ปริมาณขยะที่ทางเทศบาลต้องนำไปกำจัดลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำให้รายจ่ายค่าทิ้งขยะลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,175.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีคณะทำงานที่มีตัวแทนจากท้องที่และท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะที่เข้มแข็ง
2. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบมีความรู้ มีความตระหนัก รักษาความสะอาดภายในและนอกครัวเรือนของตนเองและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลครัวเรือนได้ร้อยละ 60 ของครัวเรือนที่ร่วมโครงการ
3. ครัวเรือนสามารถจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่ร่วมโครงการ
4. ปริมาณขยะที่ทางเทศบาลต้องนำไปกำจัดลดลงร้อยละ 10 ของปีที่ผ่านมา ทำให้รายจ่ายค่าทิ้งขยะลดลง


>