กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

1. นางนารีมะห์ จินารง
2. นางสาวอามาณี แนหะ
3. นายอับดุลสอมะ ลูมุ
4. นายเจ๊ะอูมา ดือราแม
5. นายอับดุลเลาะห์ หะยีสามะ

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ นอกจากนี้ สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่น อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง ขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสาคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
จากฐานข้อมูลของตำบลปุโรง มีประชากรทั้งหมด 5,681 คน มีผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 433 คน คิดเป็นร้อยละ 7.62 จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ โดยดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดตียง และติดสังคม การดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยทุกภาคส่วน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง” และมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การจัดการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความสุข เกิดทักษะในการดูแลตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุตำบลปุโรงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัวชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้

 

0.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 23 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 805 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
805.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2565

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2565
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เรื่อง ประโยชน์ของการออกกำลังกาย - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

2.เรื่อง อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

3.เรื่อง โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

4.เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

5.เรื่อง สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ/การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

6.เรื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

7.เรื่อง การดูแลสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ - ค่าทำป้ายไวนิลขนาด 1.20 x 2.50 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าหนังสือและวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1-หนังสือเรียนกีรออาตี (อัลกุรอาน) จำนวน 50 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 2-สมุด จำนวน 50 เล่มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 3-ปากกา จำนวน 1 กล่องๆ ละ 425 บาทเป็นเงิน 425 บาท 4-กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 50 ใบๆ ละ 120 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท 5-ค่าจัดซื้อผ้าลือปัส (สำหรับออกกำลังกาย) จำนวน 50 ชิ้นๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70525.00

กิจกรรมที่ 4 ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน)

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน) โดยทีมวิทยากรอาสาประจำตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ปัจฉิมนิเทศและมอบ เกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ปัจฉิมนิเทศและมอบ เกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปัจฉิมนิเทศและมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2565

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 23 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 805 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
805.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,135.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้
3. สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
4. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้
5. ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร


>