กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง

หมู่ที่ 1,2 ตำบลเชามีเกียรติ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พื้นที่รับชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง มีประชากรทั้งหมด 2,107 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565) ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และสวนผัก การทำเกษตรของประชาชนในพื้นที่ยังมีการพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดแมลง มีทั้งกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ , กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต,กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอยด์ และสารป้องกันและกำจัดวัชพืช ในการทำการเกษตร ซึ่งผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ตัั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากเกษตรกรไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น พฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง การสัมผัสารเคมีโดยไม่ใส่ผ้าปิดจมูก ไม่สวมถุงมือ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ปกปิด และไม่สวมรองเท้าบูท เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรสามารถสัมผัสสารเคมีโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เชน การสูดหรือดมสารเคมีเข้าไปและถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี ระบบสืบพ้นธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้่จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น สารเคมีต่างๆเหล่านี้ยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้ระบบนิเวศจะเปราะบางลง ไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะรุนแรงและถี่ขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช วิธีป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องตน การส่งต่อเพื่อการพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ ตลาดจนจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษากับเกษตรกรเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงานและสามารถนำความรู้ไปใช้กับตนเองได้
2. กลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถุกต้อง
3. เกิดการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร


>