กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตา

หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7,9,10,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีความชุกค่อนข้างสูงและนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่เรื้อรังและรุนแรงได้เช่นภาวะหลอดเลือดตีบแข็งความดันโลหิตสูงจอประสาทตาเสื่อมไตวายโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดร่วมกับเป็นแผลเรื้อรังติดเชื้อได้ง่ายซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการได้แก่ตาบอด หรือถูกตัดขาซึ่งปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่นทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมรวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัวทำให้ญาติผู้เกี่ยวข้องต้องแบกภาระในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตของผู้ป่วยทำให้เกิดการขาดรายได้ในการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวซึ่งหากผู้ป่วยและครอบครัวไม่มีความเข้าใจในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้ป่วยกำลังเชิญอยู่ร่วมกับให้การดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้องปัญหาต่างๆดังกล่าวรวมถึงภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกให้อยู่ในภาวะปกติได้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไป
จากสภาพพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา พบความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 428 ราย และในปี 2565 จำนวน 426 ราย ส่วนโรคความดันโลหิตสูงความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 1,256 ราย และในปี 2565 จำนวน 1,196 ราย ซึ่งไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง นอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง คือภาวะแทรกซ้อนของโรคระบบหัวใจหลอดเลือด(CVD) จำนวน 74 ราย ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตจำนวน 877 ราย ซึ่งสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองขณะเป็นโรคไม่ถูกต้องและขาดความตระหนักในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจึงไม่สามารถแก้ไขให้อยู่ในสภาวะปกติได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่างๆ ในเรื่องการดำรงชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา มีอัตราการป่วยที่สูงซึ่งมาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อมุ่งเน้นให้ดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรคร่วมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงโดยให้ญาติผู้ดูแลมีส่วนร่วม

ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตมีความรู้ความเข้าใจโรคเบื้องต้น ประเมินผลจากการสังเกตเวลาตอบคำถามขณะอบรม ร้อยละ 80

0.00
2 ผู้ป่วยมีความเข้าใจในการเลือกดูแลสุขภาพเหมาะกับตนเอง มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
  1. ผู้ป่วยมีกำลังใจ สามารถเลือกแนวทางในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยการแบ่งกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่ม
  2. 1.กลุ่มสีเขียว(ควบคุมอาการได้)
  3. 2.กลุ่มสีเหลือง(กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มพึ่งพา)
  4. 3.กลุ่มสีแดง (กลุ่มควบคุมอาการไม่ได้/มีภาวะแทรกซ้อน )
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2022

กำหนดเสร็จ 23/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรคร่วมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรคร่วมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x50บาท x1มื้อ x2วัน     =  10,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 100 คน x50บาท x2 มื้อ x 2วัน         =  10,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
  • ค่าปากกา 8 บาท x 100 ด้าม                           =    800 บาท
  • ค่ากระดาษ A4  95 บาท x 3 รีม                       =    285 บาท
  • ค่าโมเดลชุดอาหาร                                        = 10,000บาท
  • ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้
    (จำนวน 1 คน x300 บาท x 3ชม. x 2วัน)               = 1,800 บาท
  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ   ขนาด 1×3 เมตร  800 บาท× 1 ผืน                    =   800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 26 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33685.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,685.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.2. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อเนื่อง
3.3. ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี


>