กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา

หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7,9,10,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์โรคติดต่อในพื้นทีตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและบริเวณที่อยู่อาศัยประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานานซึ่งในปี 2560 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2561 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2564 ตำบลบันนังสตา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคLeptospirosisจำนวนทั้งสิ้น 25 รายคิดเป็นอัตราป่วย 3.37 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.27 หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู(Leptospirosis)ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตาจึงได้จัดทำ “โครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู” เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสามารถเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฉี่หนูให้มีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาน มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการป้องกันโรคฉี่หนู
  • ร้อยละ80ของประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 540
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2022

กำหนดเสร็จ 23/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นทีหมู่ 1 ,2, 3, 4, 5, 7, 9, 10, 11 ในการเฝ้าระวังป้องกัน โรคฉี่หนู

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นทีหมู่ 1 ,2, 3, 4, 5, 7, 9, 10, 11 ในการเฝ้าระวังป้องกัน โรคฉี่หนู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน..50...บาท.x 540 คน x 1วัน x 1มื้อ
     เป็นเงิน 27,000 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม..25.บาท.x540 คน x1วันx 2มื้อ     เป็นเงิน 27,000 บาท -  ค่าวิทยากรจำนวน300 บาท x 3ชั่วโมง x 1คนx9วัน                            เป็นเงิน  8,100  บาท -  ค่าสื่อความรู้ ประชาสัมพันธ์ 540 ชุด x 50...บาท. เป็นเงิน  10,800 บาท -  ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 เมตรจำนวน 1 ป้าย จำนวนเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
73700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 73,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชน มีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและครอบครัวและสามารถนำไปเผยแพร่สู่ชุชนใกล้เคียงเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก


>