กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 สิงหาคม 2565 - 23 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 73,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซียะ บาเหมบูงา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 540 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคติดต่อในพื้นทีตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและบริเวณที่อยู่อาศัยประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานานซึ่งในปี 2560 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2561 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2564 ตำบลบันนังสตา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคLeptospirosisจำนวนทั้งสิ้น 25 รายคิดเป็นอัตราป่วย 3.37 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.27 หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู(Leptospirosis)ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตาจึงได้จัดทำ “โครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรคฉี่หนู” เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสามารถเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฉี่หนูให้มีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาน มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการป้องกันโรคฉี่หนู
  • ร้อยละ80ของประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 73,700.00 0 0.00
22 ส.ค. 65 - 23 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นทีหมู่ 1 ,2, 3, 4, 5, 7, 9, 10, 11 ในการเฝ้าระวังป้องกัน โรคฉี่หนู 0 73,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชน มีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและครอบครัวและสามารถนำไปเผยแพร่สู่ชุชนใกล้เคียงเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ