กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมอาสาฉุกเฉินชุมชน ตำบลเขาตูม อำยะรัง จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม

1.นางสาวฟาตีเมาะกาลม
2.นางสาวสารีผะมะเกะ
3.นายอับดุลเลาะดาแม
4.นายสูไฮมีบือแน
5.นายมะซฮและห์อุทัย

หมู่ที่ 1 2 3 7 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นการเจ็บป่วยกะทันหันที่เป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ ส่งผลต่อความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน จำเป็นต้องได้รับการประเมิน จัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะทุพลภาพและการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยนั้น
ปัจจุบันพบว่าการเจ็บป่วยฉุกเฉินมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุต่างๆ และจากการเจ็บป่วยด้วยโรคอันตรายหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ที่จำป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุอย่างทันท่วงที เพื่อนำส่งสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์เป็นทีมปฏิบัติงานที่อยู่ในพื้นที่ เป็นทีมช่วยเหลือ และเข้าถึงจุดเกิดเหตุเป็นทีมแรก ได้เห็นกลไกการบาดเจ็บ และให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การใช้ทักษะการประเมินผู้บาดเจ็บ การเคลื่อนย้ายที่ถูกต้อง รวมถึงการสื่อสารประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่กระชับฉับไว ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดโครงการอบรมอาสาฉุกเฉินชุมชน ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อให้อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์มีความรู้และทักษะเฉพาะในการดูแลผู้บาดเจ็บที่เป็นระบบ ทั้งในการประเมิน การวิเคราะห์ปัญหา การดูแลการจัดการ การประเมินผล การสื่อสาร และการส่งต่อผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การแจ้งเหตุเพื่้อขอความช่วยเหลือเบอร์ 1669 และการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การแจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือเบอร์ 1669 และการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

30.00 24.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

30.00 24.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ ตามแนวทาง "อาสาฉุกเฉินชุมชน"

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ ตามแนวทาง "อาสาฉุกเฉินชุมชน"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เชิญวิทยากรเพื่อเข้าร่วมโครงการ ฯ 2.เชิญกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ ฯ 3.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อาสาฉุกเฉินชุมชน 3.1 จัดทำคู่มือ “อาสาฉุกเฉินชุมชน” 30 เล่ม x 100 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท 3.2 จัดเตรียมสื่อการสอนเพื่อใช้ในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อาสาฉุกเฉินชุมชน -Hard collar เฝือกแข็งดามคอ เด็ก 2,000 บาท x 1 ชิ้นเป็นเงิน 2,000 บาท -Hard collar เฝือกแข็งดามคอ ผู้ใหญ่ 2,000 บาท x 1 ชิ้นเป็นเงิน 2,000 บาท -ชุดเฝือกลม ดาม แขน-ขา ผู้ใหญ่ 1 ชุด x 20,000 บาทเป็นเงิน 20,000 บาท -ค่าอาหารว่าง และอาหารกลางวัน 30 คน x 100 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าวิทยากร 600 บาท x 8 ชม. x 3 คนเป็นเงิน 14,400 บาท -ไวนิลโครงการ ฯ ขนาด (1 x 3 เมตร) 3 ตร.ม. x 450 บาท x 1 ผืน เป็นเงิน 1,350 บาท -หุ่น CPR แบบครึ่งตัวจำนวน 1 หุ่น x 9,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

4.ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ทำแบบประเมิน ความรู้ และความพึงพอใจ หลังดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.ทะเบียน อาสาฉุกเฉินชุมชน เป็นเครื่อข่ายระดับตำบลต่อไป 3.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การแจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือเบอร์ 1669 และการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 4.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกิดเครือข่ายในชุมชน อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับ อาสาฉุกเฉินชุมชน


>