กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน รหัส กปท. L8406

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ปีงบประมาณ 2565
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน
3.
หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำคัญที่พบในประชาชนทุกกลุ่มวัย การมีสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพร่างกายที่ดีช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เพราะเมื่อมีปัญหาสุขภาพช่องปากย่อมส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย การดูแลเพื่อให้เด็กมีฟันดีควรเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมจะมีการสร้างตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 6 สัปดาห์ และการสร้างฟันต้องการสารอาหารหลายชนิดเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะส่งผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง การเอาใจใส่ดูแลรักษาอนามัยช่องปากขณะตั้งครรภ์ที่ดีสามารถป้องกันการเกิดปัญหาช่องปากได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบ โรคฟันผุ ซึ่งเชื้อโรคต่างๆในช่องปากแม่สามารถจะติดต่อไปสู่ลูกได้ และโรคฟันผุเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก หากเกิดโรคฟันผุจะทำให้เด็กไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้เชื้อโรคจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ปอดบวม อันจะส่งผลต่อสภาวะโภชนาการ การพัฒนาการด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวาน ซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญ ทางการโฆษณามากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น เด็กประถมศึกษาถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันกรามถาวรซี่แรกที่ขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เพราะการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์ และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ โรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน การแปรงฟัน นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานนั้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก เช่น การสูญเสียฟัน การเกิดโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบ โรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก ต่อมน้ำลายทำงานลดลงและอาการปากแห้ง โรคฟันผุ การติดเชื้อราในช่องปาก อาการปวดแสบร้อนในปากหรือลิ้น ความผิดปกติของระบบประสาท และมีความเสี่ยงต่อโรคในช่องปากมากกว่าปกติ เช่น มีความชุกของโรคปริทันต์สูงกว่าคนที่ไม่โรค ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จึงทําให้ผู้ป่วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก
ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่พบปัญหาโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พบว่าในปี 2564 เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 46.67 และโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 83.33ในเด็กประถมศึกษา จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2564 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี มีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 35.67 52.23 53.88 และ 55.78 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2564 พบฟันแท้ผุมากในเด็กอายุ 6 9 และ12 ปี คิดเป็นร้อยละ15.33 21.43 25 และ 27.02 ตามลำดับ และในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังพบว่ามีโรคฟันผุ ร้อยละ 60.5 และโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 74.00ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี การเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้นได้ และมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 75.00
  • 2. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่
    ตัวชี้วัด : ร้อยละเด็ก 6 - 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) มีผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 50.00
  • 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ หรือได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และplaque control เฉพาะเขตรับผิดชอบ
    ขนาดปัญหา 46.67 เป้าหมาย 70.00
  • 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการทันตกรรม
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 70.00
  • 5. เพื่อฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก และมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง
    ขนาดปัญหา 35.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
    รายละเอียด

    โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,100 บาท

    โรงเรียนบ้านดูสน

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,100 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท

    หญิงตั้งครรภ์

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 15 คน ๆ ละ50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อเป็นเงิน 750 บาท

    ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 900 บาท
    งบประมาณ 20,000.00 บาท
  • 2. กิจกรรมให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน
    รายละเอียด

    ให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 20,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ร้อยละ 75 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 มีทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และมีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)ลดลง
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกได้อย่างเหมาะสม
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
  4. กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน รหัส กปท. L8406

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน รหัส กปท. L8406

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 20,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................