กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำคัญที่พบในประชาชนทุกกลุ่มวัย การมีสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพร่างกายที่ดีช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เพราะเมื่อมีปัญหาสุขภาพช่องปากย่อมส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย การดูแลเพื่อให้เด็กมีฟันดีควรเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมจะมีการสร้างตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 6 สัปดาห์ และการสร้างฟันต้องการสารอาหารหลายชนิดเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะส่งผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง การเอาใจใส่ดูแลรักษาอนามัยช่องปากขณะตั้งครรภ์ที่ดีสามารถป้องกันการเกิดปัญหาช่องปากได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบ โรคฟันผุ ซึ่งเชื้อโรคต่างๆในช่องปากแม่สามารถจะติดต่อไปสู่ลูกได้ และโรคฟันผุเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก หากเกิดโรคฟันผุจะทำให้เด็กไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้เชื้อโรคจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ปอดบวม อันจะส่งผลต่อสภาวะโภชนาการ การพัฒนาการด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวาน ซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญ ทางการโฆษณามากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น เด็กประถมศึกษาถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันกรามถาวรซี่แรกที่ขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เพราะการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์ และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ โรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน การแปรงฟัน นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานนั้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก เช่น การสูญเสียฟัน การเกิดโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบ โรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก ต่อมน้ำลายทำงานลดลงและอาการปากแห้ง โรคฟันผุ การติดเชื้อราในช่องปาก อาการปวดแสบร้อนในปากหรือลิ้น ความผิดปกติของระบบประสาท และมีความเสี่ยงต่อโรคในช่องปากมากกว่าปกติ เช่น มีความชุกของโรคปริทันต์สูงกว่าคนที่ไม่โรค ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จึงทําให้ผู้ป่วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก
ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่พบปัญหาโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พบว่าในปี 2564 เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 46.67 และโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 83.33ในเด็กประถมศึกษา จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2564 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี มีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 35.67 52.23 53.88 และ 55.78 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2564 พบฟันแท้ผุมากในเด็กอายุ 6 9 และ12 ปี คิดเป็นร้อยละ15.33 21.43 25 และ 27.02 ตามลำดับ และในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังพบว่ามีโรคฟันผุ ร้อยละ 60.5 และโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 74.00ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี การเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้นได้ และมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

60.00 75.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

ร้อยละเด็ก 6 - 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) มีผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ

40.00 50.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ หรือได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และplaque control เฉพาะเขตรับผิดชอบ

46.67 70.00
4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น

ร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการทันตกรรม

50.00 70.00
5 เพื่อฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก และมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง

35.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 204
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,100 บาท

โรงเรียนบ้านดูสน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,100 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท

หญิงตั้งครรภ์

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 15 คน ๆ ละ50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อเป็นเงิน 750 บาท

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 75 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 มีทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และมีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)ลดลง
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
4. กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ อุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน


>