กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รวมใจเป็นหนึ่ง เด็กเปาะเส้งฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยในทุกกลุ่มวัยยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ในขณะที่การเข้าถึงบริการยังมีข้อจำกัด ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีมีผลต่อระบบร่างกายของทุกคนและทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีผลต่อพัฒนาการสมวัย หากป้องกันปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเด็กได้ โอกาสที่จะเกิดปัญหาของโรคในช่องปากในวัยที่สูงขึ้นน่าจะลดลง ซึ่งสาเหตุของโรคในช่องปากประเด็นหลักมาจากขาดการทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอและจากพฤติกรรมการบริโภคที่มีสิ่งจูงใจจากการโฆษณาทางสื่อต่างๆ การแก้ปัญหาให้ได้ผล จึงต้องขยายขอบเขตการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับงานสุขภาพอื่นๆอย่างเป็นองค์รวม สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กก่อนวัยเรียนพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมอาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลงได้
จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดยะลา ปี 2564 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.95 ในอำเภอเมืองยะลา พบมีฟันผุร้อยละ 54 และในตำบลเปาะเส้งพบที่ร้อยละ 54.54 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราฟันผุที่ค่อนข้างสูง
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมแบบครบวงจร คือ การให้สุขศึกษา การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้บริการทันตกรรม การบำบัดรักษา และที่สำคัญมีการเยี่ยมติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องจะทำให้ปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงได้ ทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก รวมถึงเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ รวมใจเป็นหนึ่ง เด็กเปาะเส้ง ฟันดี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกได้ร้อยละ 80
2. แกนนำอสม.มีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชนได้ร้อยละ 80
3. เด็กที่เข้าร่วมโครงการปราศจากแผ่นคราบจุลินทรีย์ร้อยละ 70

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - 3 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - 3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงาน    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  30  คน X 25 บาท X 2 มื้อ  เป็นเงิน  1,500 บาท 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากแก่ผู้ปกครองและบุตร จำนวน 60 คน
    2.1 ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวันในการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง จำนวน 60 คน
          -  ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 60คน * 50บาท * 1 มื้อ)       เป็นเงิน 3,000 บาท
           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 60คน 25 บาท2 มื้อ)  เป็นเงิน 3,000 บาท            - ค่าวิทยากร (300บาท/ชม.5ชม1 วัน)                            เป็นเงิน 1,500 บาท     2.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตการทำความสะอาดช่องปาก/ทาฟลูออไรด์วานิช มีรายละเอียดดังนี้
           - แปรงสีฟันเด็ก จำนวน 60 ด้ามๆละ 33 บาท                       เป็นเงิน 1,980 บาท            - กระเป๋าผ้า จำนวน 60 ใบๆละ 50 บาท                              เป็นเงิน 3,000 บาท 3.  กิจกรรมอบรมผู้ให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากแก่แกนนำอสม. จำนวน 40 คน
          - ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 40 คน * 50 บาท * 1 วัน)          เป็นเงิน  2,000 บาท
          - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 40 คน25 บาท 2 มื้อ1วัน)   เป็นเงิน 2,000 บาท           - ค่าวิทยากร (300บาท/ชม.5ชม.1วัน)                            เป็นเงิน 1,500 บาท 4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลช่องปากระหว่างผู้ปกครองและแกนนำอสม. จำนวน 100 คน
         -  ค่าอาหารกลางวันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลช่องปากระหว่างผู้ปกครองและแกนนำอสม.(จำนวน 100คน * 50บาท * 1 วัน)  เป็นเงิน 5,000 บาท
         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 100คน *25 บาท
2 มื้อ1วัน)   เป็นเงิน 5,000 บาท          - ค่าวิทยากร (300บาท/ชม.5ชม.*1วัน)                                      เป็นเงิน 1,500 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลแบบขาตั้งขนาด   1.2 x 3 เมตร จำนวน 2 ชุด X 1,700 บาท    เป็นเงิน 3,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34380.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกได้
2. แกนนำอสม.มีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชนได้
3. เด็กที่เข้าร่วมโครงการปราศจากแผ่นคราบจุลินทรีย์


>