กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รวมใจเป็นหนึ่ง เด็กเปาะเส้งฟันดี
รหัสโครงการ 65-L4136-1-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 34,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเน๊าะ มูเล็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยในทุกกลุ่มวัยยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ในขณะที่การเข้าถึงบริการยังมีข้อจำกัด ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีมีผลต่อระบบร่างกายของทุกคนและทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีผลต่อพัฒนาการสมวัย หากป้องกันปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเด็กได้ โอกาสที่จะเกิดปัญหาของโรคในช่องปากในวัยที่สูงขึ้นน่าจะลดลง ซึ่งสาเหตุของโรคในช่องปากประเด็นหลักมาจากขาดการทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอและจากพฤติกรรมการบริโภคที่มีสิ่งจูงใจจากการโฆษณาทางสื่อต่างๆ การแก้ปัญหาให้ได้ผล จึงต้องขยายขอบเขตการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับงานสุขภาพอื่นๆอย่างเป็นองค์รวม สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กก่อนวัยเรียนพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมอาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลงได้
จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดยะลา ปี 2564 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.95 ในอำเภอเมืองยะลา พบมีฟันผุร้อยละ 54 และในตำบลเปาะเส้งพบที่ร้อยละ 54.54 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราฟันผุที่ค่อนข้างสูง
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมแบบครบวงจร คือ การให้สุขศึกษา การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้บริการทันตกรรม การบำบัดรักษา และที่สำคัญมีการเยี่ยมติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องจะทำให้ปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงได้ ทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก รวมถึงเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ รวมใจเป็นหนึ่ง เด็กเปาะเส้ง ฟันดี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 34,380.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - 3 ปี 100 34,380.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกได้
  2. แกนนำอสม.มีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชนได้
  3. เด็กที่เข้าร่วมโครงการปราศจากแผ่นคราบจุลินทรีย์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2565 00:00 น.