กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเปาะเส้ง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรงสาธารณสุข มีความตั้งใจและความพยายามในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและ สร้างการมีส่วนร่วมของคน ในครอบครัวทั้งลูกหลาน ญาติ ทุกเพศทุกวัย ให้สามารถดูแลสุขภาพ คนในครอบครัวได้ด้วยตนเองและมุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีอย่างน้อย ๑ คน เป็น อสค. ในการช่วยเหลือ คนในครอบครัวและผู้อื่นด้วยจิตเมตตา มีคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ใด ๆ ไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดนอกเหนือจากทำเพื่อให้เพื่อนมนุษย์ ได้มีความสุข และ อสค. ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงได้ร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
กระทรงสาธารณสุข มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคมากขึ้น จากเดิมที่กระทรงสาธารณสุขอาจจะเน้น ในเชิงรักษาอย่างเดียว โดยการสร้างความรู้ด้านสุขภาพให้คนไทยได้เรียนรู้ที่จะป้องกันดูแลตนเองในเบื้องต้น และส่งต่อไปยังชุมชนรอบข้างด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางป้องกันโรคใน ๕ กลุ่มวัย โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่ผู้สูงอายุ บ้านที่มีคนป่วยไตวายเรื้อรัง บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมว่าควรจะดูแลอย่างไร จะล้างไตทางช่องท้องอย่างไร คนวัยทำงานทำอย่างไรจะป้องกันโรคติดต่อเรื้อรังได้หรือผู้สูงอายุจะทำอย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรง ดูแลตนเองได้โดยมีชุมชน เป็นตัวสนับสนุน เป็นการ ต่อยอดการดูแลสุขภาพจาก อสม. เข้าไปในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตัวเองได้ พร้องทั้งมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยกำหนดเป้าหมายว่า ครอบครัวหนึ่งจำเป็นต้องมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อย ๑ คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวได้รับการถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ ทำให้เกิดทักษะ ทั้งในระดับบุคคลและครอบครัว ในการวิเคราะห์ สามารถจัดการความเสี่ยงภัยสุขภาพ และดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส และ ๕ กลุ่มวัย ตามแต่สมาชิกที่มีในครอบครัวตนเองเป็นรูปแบบหนึ่ง ของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว ที่จะเชื่อมต่อและช่วยเสริมการดำเนินงานของ อสม. ได้อย่างยิ่ง
จากข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑ – ๔ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่า มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง ๒,๙๑๕ คน ในจำนวนนี้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๒๘๕ คน ในจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายรายรับประทานยา ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากรู้สึกเบื่อที่ต้องกินยา หรือบางรายไม่มีคนนำส่งรับยา เป็นต้น อีกทั้งยังบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลในเลือด ได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้ เช่น หลอดเลือดสมองไตวาย ถูกตัดอวัยวะ ชมรมอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองระดับครอบครัว ด้วยการพัฒนา อาสาสมัครประจำครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลบุคคล ในครอบครัวได้ เป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวได้
2.เพื่อความเข้มแข็งของกำลังคนด้านสุขภาพเครือข่ายภาคประชาชน
3.ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่และลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพผู้มีปัญหาสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพผู้มีปัญหาสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๐๐ คนๆ ละ ๑ มื้อๆ ละ  ๕๐  บาท    เป็นเงิน  ๕,๐๐๐  บาท ๒.  ค่าอาหารว่าง จำนวน ๑๐๐ คนๆ ละ ๒ มื้อๆ ละ  ๒๕  บาท     เป็นเงิน  ๕,๐๐๐  บาท ๓.  ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐                    เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท ๔.  ค่าไวนิลโครงการ ขนาด ๑.๒ x ๒.๕ เมตร                  เป็นเงิน     ๗๕๐  บาท ๕.  ค่าวัสดุในการจัดอบรม                   
-  แฟ้มเอกสาร จำนวน ๑๐๐ เล่ม ๆ ละ ๒๐ บาท                           เป็นเงิน ๒,๐๐๐  บาท -  สมุด จำนวน ๑๐๐ เล่ม ๆ ละ ๑๐ บาท                                เป็นเงิน ๑,๐๐๐  บาท -  ปากกา จำนวน ๑๐๐ ด้าม ๆ ละ ๑๐ บาท                             เป็นเงิน ๑,๐๐๐  บาท -  ปากกาเคมี จำนวน ๖ ด้าม ๆ ละ ๑๐ บาท                                เป็นเงิน      ๖๐  บาท -  กระดาษขาร์ท จำนวน ๕ แผ่น ๆ ละ ๑๐ บาท                            เป็นเงิน      ๕๐  บาท -  กาว ๒ หน้า จำนวน ๓ ม้วน ๆ ละ ๔๕                                     เป็นเงิน    ๑๓๕  บาท -  กระดาษ A4 จำนวน ๑ ริม ๆ ละ                                             เป็นเงิน    ๑๓๕  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลบุคคลในครอบครัวด้านสุขภาพได้
2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดุแลสุขภาพของคนในชุมชนและวางแผนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน
3.ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ


>