กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
รหัสโครงการ 65-L4136-2-34
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเปาะเส้ง
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,730.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอามะเซ็ง ลาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรงสาธารณสุข มีความตั้งใจและความพยายามในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและ สร้างการมีส่วนร่วมของคน ในครอบครัวทั้งลูกหลาน ญาติ ทุกเพศทุกวัย ให้สามารถดูแลสุขภาพ คนในครอบครัวได้ด้วยตนเองและมุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีอย่างน้อย ๑ คน เป็น อสค. ในการช่วยเหลือ คนในครอบครัวและผู้อื่นด้วยจิตเมตตา มีคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ใด ๆ ไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดนอกเหนือจากทำเพื่อให้เพื่อนมนุษย์ ได้มีความสุข และ อสค. ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงได้ร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กระทรงสาธารณสุข มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคมากขึ้น จากเดิมที่กระทรงสาธารณสุขอาจจะเน้น ในเชิงรักษาอย่างเดียว โดยการสร้างความรู้ด้านสุขภาพให้คนไทยได้เรียนรู้ที่จะป้องกันดูแลตนเองในเบื้องต้น และส่งต่อไปยังชุมชนรอบข้างด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางป้องกันโรคใน ๕ กลุ่มวัย โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่ผู้สูงอายุ บ้านที่มีคนป่วยไตวายเรื้อรัง บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมว่าควรจะดูแลอย่างไร จะล้างไตทางช่องท้องอย่างไร คนวัยทำงานทำอย่างไรจะป้องกันโรคติดต่อเรื้อรังได้หรือผู้สูงอายุจะทำอย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรง ดูแลตนเองได้โดยมีชุมชน เป็นตัวสนับสนุน เป็นการ ต่อยอดการดูแลสุขภาพจาก อสม. เข้าไปในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตัวเองได้ พร้องทั้งมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยกำหนดเป้าหมายว่า ครอบครัวหนึ่งจำเป็นต้องมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อย ๑ คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวได้รับการถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ ทำให้เกิดทักษะ ทั้งในระดับบุคคลและครอบครัว ในการวิเคราะห์ สามารถจัดการความเสี่ยงภัยสุขภาพ และดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส และ ๕ กลุ่มวัย ตามแต่สมาชิกที่มีในครอบครัวตนเองเป็นรูปแบบหนึ่ง ของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว ที่จะเชื่อมต่อและช่วยเสริมการดำเนินงานของ อสม. ได้อย่างยิ่ง จากข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑ – ๔ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่า มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง ๒,๙๑๕ คน ในจำนวนนี้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๒๘๕ คน ในจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายรายรับประทานยา ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากรู้สึกเบื่อที่ต้องกินยา หรือบางรายไม่มีคนนำส่งรับยา เป็นต้น อีกทั้งยังบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลในเลือด ได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้ เช่น หลอดเลือดสมองไตวาย ถูกตัดอวัยวะ ชมรมอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองระดับครอบครัว ด้วยการพัฒนา อาสาสมัครประจำครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลบุคคล ในครอบครัวได้ เป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 18,730.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพผู้มีปัญหาสุขภาพ 100 18,730.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลบุคคลในครอบครัวด้านสุขภาพได้ 2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดุแลสุขภาพของคนในชุมชนและวางแผนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน 3.ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2565 00:00 น.