กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ ตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว หมู่ที่11

1.นางพวงทิพย์กล้าคง
2.นางอารีย์เรื่องพุทธ
3.นางวรรณดีวุ่นชุม
4.นางสาวอรสาเกื้อตุ้ง
5.นางรัชกรเรืองพุทธ

ที่ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการคัดกรองโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอายุมากว่า 35 ปี ขึ้นไปในแต่ละปีพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี

 

0.00

ด้วยชุมชนตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเช่น ทำสวนยางพารา
ปลูกผักผลไม้ พืชผักสวนครัว ปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ไว้รับประทานเอง แต่พบปัญหาพื้นฐานในเรื่องสุขภาพ อย่างหนึ่งของชุมชนคือ
มีภาวะโรคมากมาย โดยโรคบางโรคต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอย่างเดียว ถึงจะบรรเทาได้ แต่โรคบางโรคไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันก็สามารถ
รักษาให้หายได้โดยใช้สมุนไพรวิถีองค์ความรู้ดั้งเดิมถึงจะบรรเทาโรคได้
อาการปวดเมื่อยมักเกิดจากความเจ็บป่วยการเสื่อมในระบบกล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนี้อเป็นเวลานานรวมถึงพฤติกรรมการบริโถคและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางสังคมส่งผลกระทบต่อร่างการเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต และมะเร็งโรคดังกล่าวไม่ได้รับการดูแลและป้องกันส่งเสริมการปรับตัวที่ถูกก็ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและเกิดความพิการตามมาได้
ซึ่งประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป บางครั้งการรักษาโรคดังกล่าวไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดภาวะแซกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน จึงได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำสมุนไพรมาใช้กับผู้ป่วยดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่นการนวด การประคบ การแช่เท้าด้วยสมุนไพรการดูแลสุขภาพเบื้องต้น กับประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

40.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้าได้รับการดูแลด้วยวิธีแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

40.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/10/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

9,800 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม.ๆละ300 เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน40 คนๆละ50 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คนๆละ25บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล 1x1.20ม เป็นเงิน 400 บาท

    • ทุกรายการสามรถถัวเฉลี่ยได้*
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ สามมารถนำไปปฏิบัติได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

    งบประมาณ

    • ค่าสมุนไพรจำนวน 40 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
    • ค่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในการแช่เท้าเป็นเงิน1,200 บาท

    • ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้*

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลโดยการแช่เท้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติท่านวดเท้า ท่าบริหารฤาษีดัดตน ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติท่านวดเท้า ท่าบริหารฤาษีดัดตน ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฝึกปฏิบัติท่านวดเท้า ท่าบริหารฤาษีดัดตน ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้วิธีการนวดในท่าต่างๆและฝึกปฏิบัติได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามผลจากการใช้สมุนไพรแช่เท้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลจากการใช้สมุนไพรแช่เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามผลจากการใช้สมุนไพรแช่เท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลจากการใช้สมุนไพรแช่เท้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยที่มีอาการชาปลายเท้า มีระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
2. ผู้ป่วยรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพเท้าของตนเองเมื่อมีอาการชาเท้า
3. ผู้ป่วยมีอาการชาปลายเท้าลดลง


>