กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำร่วมใจ ดูแลผู้บริโภค ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ และพื้นที่ หมู่ที่ 1 – 5 ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย และซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่เคียงคู่ชุมชนมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชน สะดวกในการซื้อสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น อาหาร อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป บุหรี่ ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง และยา ยาชุด ยังพบว่า ร้านขายของชำยังมีการจำหน่ายอาหาร อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป บุหรี่ ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีฉลาก จำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย และยา ยาชุด ยาอันตรายที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ อันเนื่องมาจากการแข่งขันทางธุรกิจ เทคโนโลยีการผลิต และกลยุทธ์ทางการตลาดในการส่งเสริมการขาย ของกลุ่มผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคอยู่ในสถานะเสียเปรียบ ผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ ไม่ได้มาตรฐาน เจือปนสารอันตราย ยา ยาชุด และยาอันตราย อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ งานคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (RDU) จะเกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค ในการบังคับใช้กฎหมายร่วมกัน
จากการสำรวจร้านขายของชำในเขตพื้นที่ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 20 ร้าน พบว่า ผู้ประกอบการร้านขายของชำและผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดทีสามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ รวมถึงข้อจำกัดอื่นๆ เช่นการใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อชุมชน ไม่สามารถบังคับใช้ได้โดยตรง ยังมีอีกช่องทางหนึ่งของหลักการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) ที่จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าว คือการให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและผู้บริโภค และการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่าง พนักงานเจ้าหน้าที่, ผู้นำชุมชน, อสม., รพ.สต. ,องค์กรปกครองท้องถิ่น และผู้ประกอบการร้านขายของชำ
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน จึงมีความจำเป็นต้องมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและผู้บริโภค ผู้นำชุมชน อสม. ในพื้นที่ และการมีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อให้มีส่วนร่วม ในการสร้างข้อตกลงร่วมกันของชุมชน เพื่อกำหนดแนวทาง ร้านชำไม่จำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีฉลาก เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย และไม่จำหน่ายยาชุดยาอันตราย และเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบาย พชอ. อำเภอยะหริ่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำร่วมใจ ดูแลผู้บริโภค ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง ปี 65

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (RDU) แก่ประชาชนในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อจัดตั้งกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ และอาสาด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.)

 

0.00
3 สร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางไม่จำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่มีฉลาก เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย และไม่จำหน่ายยาชุด ยาอันตราย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) ด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดตั้งกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ และสร้างข้อตกลงร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) ด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดตั้งกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ และสร้างข้อตกลงร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 60 บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,500.00 บาท
  3. ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,000.00 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.25x3.2 เมตร เป็นเงิน 1,000.00 บาท
  5. ค่ากระเป๋าผ้า พร้อมสกรีน ขนาด 14 x 15 นิ้ว .ใบละ ๆ 85 บาทx 50 ใบ เป็นเงิน 4,250.00 บาท
  6. ค่าวิทยากร6ชม. x 300บาท (ชม./บาท) เป็นเงิน 1,800.00 บาท หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายแต่ละรายการได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) ด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง  ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมจัดตั้งกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ และสร้างข้อตกลงร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13550.00

กิจกรรมที่ 2 ร่วมสำรวจให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบร้านชำ โดยพนักงาน จนท., ผู้นำชุมชน, จนท.อบต., อสม. และตัวแทนผู้ประกอบร้านขายของชำ

ชื่อกิจกรรม
ร่วมสำรวจให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบร้านชำ โดยพนักงาน จนท., ผู้นำชุมชน, จนท.อบต., อสม. และตัวแทนผู้ประกอบร้านขายของชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบร้านชำได้รับคำแนะนำ และไม่จำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่มีฉลาก เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย และไม่จำหน่ายยาชุด ยาอันตราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ ผู้นำ และอาสาด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) มีความรู้ความเข้าใจในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (RDU) แก่ประชาชนในชุมชน
2. สามารถจัดตั้งกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบร้านชำ และอาสาด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.)
3. มีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดแนวทาง ไม่จำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่มีฉลาก เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย และไม่จำหน่ายยาชุด ยาอันตราย


>